Page 61 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 61

๕๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งโดยจะใช้ค าว่า “ผลักดัน” เพื่อให้เขาออก ถ้าบอกว่าออกทางด่านสนามบิน

                  นานาชาติ (สุวรรณภูมิ) ก็จะส่งไปที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ๒  แต่ถ้ามาที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง


                  เชีียงใหม่ ก็เป็นตรวจคนเข้าเมือง ๒ เหมือนกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตรวจคนเข้าเมืองภาคเหนือเลย


                         ในส่วนการดูแลของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ที่ด่านอ าเภอแม่สอด และอ าเภอแม่สาย

                  ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย แต่เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ซึ่งส านักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดสรรงบประมาณในเรื่องของอาหาร

                  และน ้าดื่ม ซึ่ง อาหารได้รับดีกว่านักโทษคนไทยที่ได้รับโทษอาญา คือ นักโทษในเรือนจ า ทางราชการจะ


                  เลี้ยงดูแค่ ๒ มื้อ แต่ผู้หลบหนีเข้าเมืองจะได้รับ ๓ มื้อครบ


                         เรื่องคนเข้าเมือง ไม่ว่าจะเป็นชายแดนไทย - พม่า หรือมาเลเซีย -ไทย ในระยะรัศมี ๑ กิโลเมตร

                  ต้องยอมรับว่าประชาชนทั้ง ๒  ฝั่งเป็นเพื่อนกัน ดังนั้นจึงต้องดูเรื่องเจตนา คือ เมื่อได้ตัวมาก็ต้องมีการ

                  ซักถามก่อน ถ้าเป็นการเข้าข่ายการค้ามนุษย์ก็จะส่งต่อไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงการ


                  พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ถ้าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองจะเป็นหน้าที่ของส านักงานตรวจคน

                  เข้าเมือง


                         เมื่อเกิดเหตุในการสู้รบฝั่งพม่า จะเป็นเรื่องของทหาร เพราะแนวบริเวณชายแดน ทหารจะเป็น

                  ผู้รับผิดชอบอยู่ ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองจะรับผิดชอบอยู่ที่ช่องทางอนุญาตที่เป็นด่านถาวร หรือด่าน


                  ชั่วคราว พวกนี้จะเข้าทางช่องทางธรรมชาติ ทหาร ตชด. จะเป็นคนพิสูจน์ว่าเป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบหรือไม่

                  จัดพื้นที่ให้อยู่เป็นการพักพิงชั่วคราว และถ้าไม่ยอมรับก็จะเป็นเรื่องของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดังนั้น

                  ผู้ลี้ภัยจะไม่เคยส่งมาให้ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองเลย  จะส่งมาให้ด าเนินการผลักดันก็ต่อเมื่อในกรณีที่

                  เขาพิสูจน์ว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง เพราะเราใช้อ านาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒

                  มาตรา ๕๔   กับคน ๓  ชาติ คือ พม่า ลาว และกัมพูชาได้  ไม่ต้องฟ้ องศาล ถ้าฝ่ายความมั่นคงพิสูจน์ว่า

                  เป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ เข้าใจว่าก็น่าจะส่งไปที่ศูนย์ที่ตั้งขึ้น



                  ผู้แทนกองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน (ประจ าภาคเหนือ)


                         ผู้แทนกองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน(ประจ าภาคเหนือ) กล่าวว่า การปฏิบัติเราจะปฏิบัติ

                  ตามนโยบาย เช่น ในพื้นที่ทางฝั่งลาวก็ปฏิบัติตามกองก าลังผาเมือง ถ้าเป็นฝั่งพม่าก็ปฏิบัติตามนโยบาย

                  ของกองก าลังนเรศวร บทบาทเราท าอยู่ ๒ ด้าน คือ ถ้าพิสูจน์ได้ หรือไม่มีเหตุการณ์สู้รบ หรือหลบหนีมาใน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66