Page 53 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 53

๔๔
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  ปกป้ อง และคุ้มครองผู้คนที่ข้ามมา” ถ้าเรากลับไปดูเรื่องหลักการไม่ผลักดัน จริงอยู่เราอาจไม่ผลักดันเขา

                  ตามกฎหมายจารีตประเพณี หรือกฎหมายอื่น ๆ แต่ค าถามตามมาก็คือว่า “แล้วเวลาเขาเข้ามาอยู่เราใส่ใจ


                  และดูแลเขาอย่างไร” หลักการไม่เลือกปฏิบัติ ความปลอดภัยทางร่างกาย หลักเอกภาพของครอบครัว

                  เสรีภาพในการเคลื่อนย้าย เสรีภาพทางศาสนา หลักเหล่านี้พึงได้รับการใส่ใจควบคู่ไปกับหลักการไม่

                  ผลักดันด้วย


                         ต่อมาคือ หลักรัฐศาสตร์  เวลาที่เราเป็นภาคีอนุสัญญาหมายความว่า ๑) พันธะที่เรามี ๒) เป็น


                  การเพิ่มโอกาสของผู้ลี้ภัย ข้อ ๓) เป็นการก าจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐในปัญหาผู้ลี้ภัย เมื่อรัฐอัน

                  เป็นภาคีของอนุสัญญาให้ลี้ภัยแก่คนจากรัฐอื่น รัฐที่เป็นเจ้าของผู้ลี้ภัยก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการ

                  กระท าที่สันติตามหลักมนุษยธรรม และตามหลักกฎหมาย แทนที่จะเป็นการกระท าที่แสดงออกถึงความ

                  เป็นศัตรู”



                         ผู้คนที่ติดตามปัญหาชายแดนไทย – พม่าที่เรื้อรังทราบดีว่า หลายครั้งที่รัฐบาลทหารพม่าใช้ตรงนี้

                  เป็นข้ออ้างในการแสดงความไม่พอใจ หรือประท้วงรัฐบาลไทยว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราวของเราในหลาย ๆ

                  จุดเป็นที่ซ่องสุมของกองก าลังฝ่ายตรงข้าม หรือกองก าลังที่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า” ดังนั้นแล้วจึงเกิด

                  ความไม่พอใจ ข้ออ้างข้อหนึ่งในการพยายามที่จะยุบพื้นที่พักพิงชั่วคราวแล้วส่งคนกลับไป ก็คือข้ออ้างข้อ

                  นี้เหมือนกัน ในแง่นี้แล้วว่ารัฐไทยควรเป็นภาคีหรือไม่ ส าหรับผมนี้คือเหตุผลที่ดีในทางรัฐศาสตร์ ที่เราพึง

                  จะเป็นภาคี เพราะจะท าให้เกิดความสบายใจทั้ง ๒ ฝ่าย



                         เหตุผลว่าท าไมไทยต้องเป็นภาคี เพราะว่า “เราท าได้ดี และมีประวัติศาสตร์ที่งดงามในการ

                  ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยนับจากสงครามอินโดจีน และในหลาย ๆ ลักษณะเราท าได้ดีกว่ารัฐที่เป็นภาคีอีกหลาย ๆ

                  รัฐ” จริงอยู่ว่าสถานการณ์ตอนนี้ก าลังดีขึ้น คนน่าจะไม่ข้ามมาด้วยเหตุผลนั้นอีก แต่ในแง่นี้เราพึงเพื่อที่ว่า

                  เราจะได้ท างานอย่างสบายใจ และการเป็นภาคีอนุสัญญาจะสอดคล้องกับหลักรัฐศาสตร์ เรื่องการ


                  สัมพันธ์ทางการทูตที่ดีของ ๒  ประเทศ และจะไปสนับสนุนกับหลักสิทธิมนุษยชน และหลักกฎหมาย

                  ระหว่างประเทศ เหตุผลที่เราจะท าก็เพื่อรัฐไทยเอง และในนามของสิทธิมนุษยชน ผมเห็นว่าเรื่องนี้ส าคัญ

                  มาก


                         ตอนท้ายหน้า  ๑๕  ของเอกสารประกอบการสัมมนาระบุว่า “สถานการณ์ในประเทศไทยยังคงมี


                  ความขัดแย้งทางชายแดน ปัญหาการลี้ภัยทางการสู้รบยังเป็นปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญ...” ดังนั้น
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58