Page 57 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 57
๔๘
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เป็นประชาคมเดียวกัน เขาก็สามารถที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ สิ่งที่เราก าลังท าอยู่ตอนนี้มันล้าสมัยไป
แล้ว แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือว่า “เราจะท าอย่างไรในการเข้าไปสู่ตรงจุดนั้น และศักยภาพในการแข่งขันของ
ประเทศไทยต่อไป”
และอีกประเด็นในเรื่องของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ถ้า
ไทยเข้าเป็นภาคีอ านาจจะอยู่ในมือเรา UN และต่างประเทศจะไม่สามารถที่จะมาต าหนิ วิพากษ์วิจารณ์
สิ่งที่เราท า เนื่องจากเราเป็นเจ้าของกฎหมาย ถ้าเราพูดถึงค านิยามของ “คนที่เป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ” ใน
มาตรา ๑ ของอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย จะพบว่า มีปัญหาคือเข้ามาแล้วไม่ได้กลับไป เพราะสถานการณ์ไม่
ดีขึ้น จริง ๆ แล้วเราติดกับตัวเอง เพราะบอกว่า “เขาเป็นผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ” มันไม่มีจุดสิ้นสุด และเรา
ไม่ได้ก าหนดด้วยว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร เขาก็อยู่ในค่าย ๒๐ กว่าปี
แต่ถ้าดูมาตรา ๑ ของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย จะพบว่า “คนที่จะลี้ภัย จะต้องลี้ภัยจาก
การถูกประหารด้วยสาเหตุ ๕ ประการ” นั่นก็คือปัจเจก อัตราการปฏิเสธผู้ลี้ภัยของ UN อยู่ที่ร้อยละ ๙๐
หมายความว่าถ้าเข้ามา ๑๐๐ คน ถ้าใช้เกณฑ์ของเราก็จะรับ ๑๐๐ คน แต่ UN รับแค่ ๑๐ คน เพราะเขา
บอกว่าตามอนุสัญญา และอนุสัญญาก็ก าหนดไว้ด้วยว่า “ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นก็สามารถที่จะถอน
สถานภาพได้” ปัจจุบันก็เพิ่งถอนชาวศรีลังกาไปทั้งกลุ่มและส่งกลับ ซึ่งสามารถท าได้อย่างถูกต้องตาม
หลักกฎหมายระหว่างประเทศ และถ้าประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคีเราก็จะสามารถด าเนินการต่าง ๆ เหล่านี้
ได้
ในมิติของการดูแลผู้หนีภัยสงครามเห็นว่าควรจะเปลี่ยนจากการที่ให้ผู้ให้ทุนไปให้ NGOs ฝรั่ง ให้
ผู้ให้ทุนมาให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขในการดูแล ท าให้เราก็สามารถท าได้ตาม
มาตรฐานของเราเลย โดยที่ไม่ต้องควักกระเป๋ าของเราจ่าย เราบอกเขาได้ว่า “ถ้าอยากให้เด็กได้เรียน
หนังสือก็จ่ายมา เราก็จัดให้” “อยากจะให้ได้รับการดูแลสาธารณสุขที่มีมาตรฐานก็จ่ายมา เราดูแลให้”
ขณะที่แต่ละประเทศให้ตกปีละ ๖๐ ล้านเหรียญ ถ้าแยกออกมาเป็นประเภทเอามาให้กระทรวงศึกษาธิการ
และสาธารณสุขมาบริหาร เด็กทุกคนน่าจะได้รับการบริการที่ดี”
กลไกและรูปแบบในการบริหารจัดการคงจะต้องมาพิจารณากันใหม่ในบริบทปัจจุบัน รวมถึงการ
อ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เรื่อยว่า “ถ้าคนเหล่านี้กลับไป เขาจะรู้สึกดีกับประเทศไทย เป็นมิตรกับ
ประเทศไทย” ยกตัวอย่าง กัมพูชา ก่อนที่สถานทูตไทยจะถูกเผา สภาความมั่นคงแห่งชาติเข้าใจว่า