Page 63 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 63

๕๔
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  สามารถท าได้ บางครั้งยอดที่เข้ามา เช่น กรณีที่ จังหวัดตาก ๒๐,๐๐๐  กว่าคน ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ การ

                  ดูแลก็เลยไม่ดีเท่าที่ควร ภาพต่าง ๆ ที่จึงออกมาในลักษณะเหมือนรวมกันอยู่ อันนี้คือปัญหาที่ประสบอยู่



                         เรื่องที่จะเข้าไปเป็นภาคีหรือไม่ ในความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แทนกองก าลังผาเมืองคือ ก็ต้องชั่งดู

                  ระหว่างผลประโยชน์ของชาติกับความน่าเชื่อถือ การยอมรับจากต่างประเทศ หรือประชาคมโลกเพิ่มมาก

                  ขึ้นว่า อะไรที่ได้ และอะไรที่เสียไปในระยะยาว   ตอบค าถามว่า  จะพิจารณาอย่างไรว่าบุคคลที่หลบหนี

                  เข้ามาเป็นผู้ลี้ภัย หรือว่าผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งตรงนี้ก็มีการกระท าที่เกิดขึ้นก่อน เราก็


                  ต้องดูจากฝั่งตรงข้ามว่ามีการสู้รบหรือไม่  การสู้รบจริง ๆ ในพื้นที่ไม่ใช่ว่าพม่าเข้าตีชนกลุ่มน้อยก่อน

                  เพราะบางครั้งชนกลุ่มน้อยเข้าตีเขาก่อน เราก็ต้องดูว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ มีการรบกันที่ไหน และมีชาวบ้าน

                  ฝั่งพม่าที่ได้รับผลกระทบมาเท่าไร ก็สามารถที่จะพอรู้ได้


                         ส่วนปัญหาที่จะตามมาในทางปฏิบัติ คือ เมื่อผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบเข้ามาอยู่ในพื้นที่ และ


                  ก าหนดเป็นพื้นที่พักพิง บางทีไม่สามารถที่จะก าหนดได้ว่าจะให้อยู่ได้นานเท่าไร จึงท าให้ต้องพิจารณา

                  พอสมควรว่าในอนาคตจะท าอย่างไร อย่างพื้นที่พักพิง ๙ ศูนย์มีมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว ก็ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้

                  เลย และต่อไปถ้ามีเพิ่มขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ สมมติว่าเข้ามาแล้วไม่ออกไปเลย เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

                  และประชาชนในพื้นที่ หรือชาวบ้านแถวนั้นก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน ซึ่งก็มีทั้งได้และเสีย ก็กลายเป็น

                  ภาระที่เราต้องดูแล คือ จะท าอย่างไรให้สมดุลกันในลักษณะนี้



                         ในการแก้ไขปัญหาชายแดน จะมีคณะกรรมการร่วมกันระหว่างไทยกับพม่า ในส่วนของทหารจะมี

                  อยู่ ๒  ส่วน คือ คณะกรรมการส่วนท้องถิ่น (TBC) ก็จะมีหน่วยทหาร และส่วนราชการในพื้นที่เป็น

                  คณะกรรมการ จะมีการประชุม ๔  ครั้ง /  ปี ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ ๓  เดือนต่อครั้ง ส่วนระดับของกองทัพ

                  ก็จะเป็นคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) จะมีประชุมปีละ ๑  ครั้ง ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ

                  เหมือนกัน   TBC จะมีการประชุมตลอดแนวชายแดน ที่ต่อเนื่องก็คือ แม่สาย ท่าขี้เหล็ก ส่วน RBC ได้หยุด


                  ไปล่าสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑ พอ พ.ศ. ๒๕๕๒ ทางเมียนมาร์ ยังไม่พร้อม  เนื่องจากการที่เราไปวิจารณ์เขา

                  มากด้วยเมื่อครั้งที่เป็นประธานอาเซียนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิต่าง ๆ เขาจึงระงับการประชุม RBC  ไป ปีนี้ก็มี

                  ความพยายามที่จะจัดประชุมอีกครั้ง


                         ส่วนเรื่องชนกลุ่มน้อยมันเป็นการปฏิบัติในสมัยอดีต และก็มีอยู่ในลักษณะนี้ แต่เมื่อแต่ละประเทศ


                  ได้เปิดให้มีการพูดกันมากขึ้น ก็เลยกลายเป็นว่า เราจะต้องพัฒนาสัมพันธ์กับประเทศที่รัฐบาลเขายอมรับ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68