Page 60 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 60

๕๑
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                          แม้เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๕๘  จะไม่มีพรมแดนของคนในอาเซียน แต่ต้องค านึงถึงเรื่องหลักสิทธิ

                  มนุษยชนให้มากขึ้น ต้องคิดไปให้ไกลกว่าอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ ต้องมองถึงเรื่อง


                  สิทธิการพัฒนา สิทธิในการที่จะเดินทางของประชาชนมากพอ ๆ กับกลุ่มนักธุรกิจ เราคงมองปัญหาแยก

                  ส่วนไม่ได้แล้ว เราต้องมองปัญหาเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และการเปลี่ยนแปลง

                  ประชาคมในอาเซียนไปด้วย ซึ่งตรงกับที่เราพยายามให้ส่วนราชการต่าง ๆ ตอบรับประชาคมอาเซียนใน

                  พ.ศ. ๒๕๕๘ แต่ไม่แน่ใจว่าทางส่วนราชการต่าง ๆ จะได้ตอบรับในแนวทางการมองภาพรวมตรงนี้หรือไม่

                  โดยนึกถึงเรื่องประชาชนเป็นส าคัญ เพราะฉะนั้นคิดว่างานวิจัยนี้ อาจจะดูไม่ทันสมัยในอีก ๒  ปีข้างหน้า

                  แต่งานวิจัยนี้จะมีความส าคัญยิ่งต่อการท าความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่ด ารงอยู่ หรือหากรัฐบาลทหาร


                  พม่าหวนกลับมาใช้นโยบายแข็งกร้าวกับกลุ่มกองก าลังของชาติพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งรัฐบาลไทยได้แต่เพียง

                  รับทราบผลการวิจัยจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยไม่ปรับปรุงนโยบาย

                  และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการต่อผู้ลี้ภัยให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล


                         ถ้าหากว่า ประชาคมอาเซียนท าให้เกิดระบบเศรษฐกิจไร้พรมแดนในภูมิภาคอาเซียน วิธีการข้าม


                  พรมแดนที่ไม่มีพรมแดนอีกต่อไป  จึงอาจจะต้องท างานวิจัยเรื่องใหม่ และกระทรวงการต่างประเทศ

                  จะต้องมองให้ไกลกว่านี้ ไม่เช่นนั้นกระทรวงการต่างประเทศอาจเป็นแค่บุรุษไปรษณีย์เฉย ๆ ซึ่งมันไม่

                  สมศักดิ์ศรีเท่าไรนัก


                  ๓.๔ บทบาทของหน่วยงานของรัฐในพื้นที่


                         นอกจากการรับฟังนโยบายและบทบาทของหน่วยงานรัฐในส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับผู้หนีภัย

                  สงครามแล้ว ได้มีการจัดเวทีรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของหน่วยงานรัฐในระดับปฏิบัติการในพื้นที่


                  เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ณ โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เดน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้แทนของหน่วยงานรัฐที่

                  เกี่ยวข้องกับผู้หนีภัยสงครามในพื้นที่ นักวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคมได้ให้ข้อมูลดังนี้


                  ผู้แทนกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง (ประจ าภาคเหนือ)


                         ผู้แทนกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง (ประจ าภาคเหนือ) กล่าวถึงพื้นที่รับผิดชอบในภาคเหนือว่า

                  จะรับผิดชอบตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ขึ้นมา ซึ่งการที่จะน าผู้ลี้ภัยออกจากพื้นที่จะต้องให้รัฐมนตรี
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65