Page 52 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 52
๔๓
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ข้อแรกทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นปัญหาเรื้อรังที่ยาวนาน และส่งผลต่อความมั่นคง ข้อที่สอง
เรื่องการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ผมคิดว่าอันนี้คือปมจากปัญหาข้อที่ ๑ ที่กรรมการสิทธิแห่งชาติ
เข้ามาเกี่ยวข้อง และพวกเราต้องมานั่งพูดคุยกัน
คนที่หลบหนีเข้ามาในประเทศไทยมีมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน หลังจากการเลือกตั้งในพม่า พ.ศ.
๒๕๕๓ ที่เราผลักคนประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน กลับไป เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ บางช่วง
ตัวเลขขึ้นไปถึงกว่า ๑๐,๐๐๐ คน ใน ๔๐ กว่าจุด ทั้งหมดไม่เป็นข่าว เพราะว่าเป็นข่าวไม่ได้ ปมทั้ง ๒
ปมนี้ คือ “ความมั่นคง” กับ “หลักสิทธิมนุษยชนสากล” ค าถาม คือ “จะท าอย่างไรให้มันยั่งยืนและสมดุล”
ผมคิดว่าเราไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่าจะไปทางใดทางหนึ่ง
มากเกินไป จึงเลือกใช้ค าว่า “สมดุล” ผ่านหลักมนุษยธรรม กฎหมายระหว่างประเทศ หลักรัฐศาสตร์ และ
จะทิ้งท้ายด้วยการทบทวนดูว่าประวัติศาสตร์ได้สอนอะไรกับเราเกี่ยวกับปัญหาเรื่องชายแดนไทย-พม่าที่
เรื้อรังมา ไม่ใช่เฉพาะที่มีการตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เพราะมันเรื้อรังไปมากกว่า
นั้นอีก
หลักสิทธิมนุษยชนถูกพัฒนามาอย่างกว้างขวางหลังจากปี ค.ศ. ๑๙๔๘ ในปฏิญญาสากล อยู่ใน
เรื่องของ “คณะกรรมการข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย” ถ้าพูดถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากลซึ่งมีฐานอยู่ที่หลัก
มนุษยธรรม ไม่มีข้อถกเถียงที่คนเหล่านี้ที่ข้ามมาจากพม่าพึงได้รับการดูแล เพราะเป็นประเด็นทาง
ศีลธรรม และตามหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ กติการะหว่างประเทศ อนุสัญญาต่อต้านการ
ทรมาน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ต่าง ๆ เหล่านี้ให้ความส าคัญไปที่ภาคีพึงจะต้องใส่ใจกับผู้ที่ข้ามแดน
มา หมายความว่า บางอนุสัญญาเหล่านี้รัฐไทยเป็นภาคีอยู่แล้ว เมื่อรัฐไทยเป็นภาคีอยู่แล้วก็ไม่มีเหตุผลที่
จะไม่ปฏิบัติตามภาคี เพียงแต่ว่าในงานของ ดร.จตุรงค์ และทีมได้ชัดว่ามันมีปมอยู่บ้างในกรณีของรัฐไทย
เนื่องจากไม่ท าให้ชัดว่า “อนุสัญญาเหล่านั้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐไทย” ดังนั้น จึงเป็นข้ออ้าง
ที่จะไม่กระท าอะไรหลาย ๆ อย่างที่พึงกระท า แต่ถ้ามองจากหลักสิทธิมนุษยชนสากลเราไม่มีทางเลือก ซึ่ง
ผมวางตรงนั้นไว้ในหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้มีเฉพาะกฎหมายลายลักษณ์อักษร แต่มีกฎหมายจารีตประเพณี
ด้วย ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่ส าคัญ หมายความว่า “แม้เราจะไม่เป็นภาคีสมาชิกแต่เราก็ถูกผูกพันในการที่จะ