Page 51 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 51

๔๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  ผู้แทนกระทรวงกลาโหม (กองก าลังผาเมือง)


                         ผู้แทนกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า  ด้านการปฏิบัติการทางด้านทหารไม่มีปัญหาเรื่องผู้หลบหนีภัย

                  คือสามารถด าเนินการได้ตามระเบียบ และตามนโยบายของกองทัพบก ช่องทางชายแดนก็มีการผ่อนผัน

                  ตามหลักมนุษยธรรมอยู่แล้ว คือ เด็กทางฝั่งพม่ามาเรียนก็ให้ข้ามได้เฉพาะช่องทางที่ควบคุมได้ ก็จะมีการ

                  ลงทะเบียนใครข้ามเข้ามากี่โมง และกลับออกไปกี่โมง เก็บข้อมูลส่วนนี้อยู่แล้วในช่องทางที่กองทัพบก


                  มีก าลังไปดูแล และตรวจสอบได้ ส่วนช่องอื่นที่ไม่มีก็จะพยายามใช้มาตรการทางทหารไม่ให้มีการข้าม

                  ชายแดนเข้ามา


                         ปัญหาหลักจะเป็นเรื่องของแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายมากกว่าผู้ลี้ภัย เพราะว่าแรงงานต่าง

                  ด้าวจะเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย คือ ไม่เข้าช่องทางที่ก าหนดไว้ ตามนโยบายที่มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาล


                  เมียนมาร์ กับชนกลุ่มน้อย ถ้าในทางปกติก็จะดูดีส าหรับผู้ลี้ภัย คือ ไม่มีการสู้รบตามพื้นที่แนวชายแดน แต่

                  ก็จะท าให้ผู้ลี้ภัยไม่ข้ามฝั่งมาทางนี้มากนัก


                  ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


                         ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า เรื่องผู้ลี้ภัยไม่มีนโยบาย


                  และภารกิจโดยตรง แต่อาจจะเข้าไปเกี่ยวข้องบ้างถ้าเข้ามาเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ หรือผู้ด้อยโอกาสมีข้อ

                  ผ่อนผันพอสมควร เมื่อได้รับการร้องขอจากหน่วยงานราชการให้ดูแลไม่ว่าจะเป็นเด็ก สตรี คนชรา หรือว่า

                  กลุ่มผู้ด้อยโอกาสจะมาจากหนีภัย หรือไม่หนีภัยก็ตาม ก็มีข้อยืดหยุ่นพอสมควร คือ ให้การดูแลตามหลัก

                  มนุษยธรรม และโดยตามหลักการของ พรราชบัญญัติคุ้มครองเด็กต้องให้การคุ้มครองเด็กทุกคนบนพื้น


                  แผ่นดินไทยอยู่แล้ว


                  ๓.๓ ความคิดเห็นของนักวิชาการ


                         ดร.เดชา ตั้งสีฟ้ า  อาจารย์ประจ าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในเวทีสัมมนา

                  นโยบายเมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ว่า ข้อแรกต้องการทบทวน และตรวจสอบความเห็นร่วมกัน

                  ก่อนว่า “ท าไมเรามานั่งอยู่ห้องนี้ร่วมกัน” และข้อสอง คือ “ความสมดุลของหลักสิทธิมนุษยชนสากลกับ


                  ความมั่นคงของรัฐไทยในระยะยาว”
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56