Page 50 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 50
๔๑
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ส่วนของกระทรวงมหาดไทยก็ดูแลในเรื่องเกี่ยวกับการรับผู้ลี้ภัยเข้ามาในพื้นที่พักพิง โดยมีคณะกรรมการ
พิจารณารับผู้ลี้ภัย คือ PIB ในระดับจังหวัด และก็มีระดับภูธร
ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยท าหน้าที่ท าการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งมีปัญหาเรื่องการพิจารณา
หลักเกณฑ์ไม่ตรงกันใน ๔ จังหวัด คือ จังหวัดทางภาคตะวันตก (กาญจนบุรี และราชบุรี) ซึ่งมองเรื่องการ
สู้รบว่า “ณ เวลานั้น” เท่านั้นเอง ส่วนภาคเหนือ (ตาก และแม่ฮ่องสอน) มองเรื่อง “การสู้รบเป็นหลัก” คือ
รบเมื่อไร เวลาไหน ก็จะพิจารณาเข้ามาเป็นผู้ลี้ภัยทั้งหมด ซึ่งก็ก าลังประสานงานกับสภาความมั่นคง
แห่งชาติให้น าเข้าสู่คณะกรรมการควบคุมผู้ลี้ภัย เพื่อให้ออกมาเป็นหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและถูกต้อง กลุ่มที่
จะคัดกรองเบื้องต้นก็คือ กลุ่มที่เป็นคนเถื่อน และหลบหนีเข้ามาอยู่ในแคมป์ มาขอพักพิงเข้ามาอยู่ใน
แคมป์ คนที่อยู่นอกแคมป์ ไม่ได้ท า
หลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย คือ ถ้าอยู่นอกแคมป์ ก็จะต้องมาตามกระบวนการพิจารณา
เข้ามาทางชายแดน เจอทหาร หรือต ารวจ ก็จะสอบสวนขั้นต้น ถ้าไม่ใช่ก็จะพูดคุย และให้ส่งกลับไปเมื่อ
สถานการณ์ปลอดภัย แต่การคัดกรองเบื้องต้นขณะนี้ท าเฉพาะ ๔ พื้นที่พักพิงเท่านั้น ซึ่งท าเฉพาะคนที่เข้า
มาหลบหนีอยู่ในแคมป์ ส่วนด้านอื่น ๆ ก็ให้ความช่วยเหลือตามนโยบาย คือ การเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใน
ประเทศที่ ๓ ได้แก่ แคนาดา นอร์เวย์ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ จนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
๒๕๕๔ ส่งไปแล้ว ๑๖,๓๑๑ คน
ส าหรับสหรัฐอเมริกา มีนโยบายที่จะรับผู้ลี้ภัยทั้งหมดในขณะนี้ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คนที่รับไป
แล้ว ก็จะสังเกตได้ว่า ยังมีผู้ลี้ภัยที่อยู่ในพื้นที่พักพิงจ านวนเท่าเดิม ไม่มีลด เพราะเมื่อถึงเวลาจริงๆ ผู้ที่
หลบหนีมาอยู่ในแคมป์ ก็จะมาร้องขอให้ช่วยพิจารณาเข้าคณะกรรมการให้มีทะเบียน และสามารถ
เดินทางไปประเทศที่ ๓ ได้อีก
ปัญหาอุปสรรคของการประสานงานกับหน่วยงาน น่าจะเป็นขององค์การระหว่างประเทศ
UNHCR, IOM หรือ NGOs อาจจะเริ่มหมดความสนใจในการที่จะดูแลผู้ลี้ภัย ประเทศที่สนับสนุนก็อาจจะ
ให้การสนับสนุนน้อย เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือด้านอุปโภคบริโภคลดลง ท าให้เป็นปัญหาส าหรับการดูแล
ผู้ลี้ภัย ซึ่งเริ่มที่จะบอกได้ว่า “ไม่พอกิน” ท าให้ต้องเล็ดลอดหนีออกไปนอกพื้นที่ และก็ไปรับจ้าง หรือไปหา
เงินเพื่อมาซื้อของยังชีพเพิ่มเติม ส่วนเรื่องการส่งกลับ ก็มีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ โดยให้ NGOs เข้าไป
ให้การดูแลเรื่องการฝึกอาชีพที่สามารถจะกลับไปท างานได้ เช่น การซ่อมจักรยาน ฯลฯ