Page 49 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 49

๔๐
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  แห่งชาติเป็นผู้ดูแลนโยบายหลัก ซึ่งการประชุมครั้งนั้นกล่าวถึงประเด็นต่าง ๆ อย่างเช่น พลวัติในอาเซียน

                  พื้นที่ของชนกลุ่มน้อย และกลุ่มต่าง ๆ ว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมานั่งคุยกันในเรื่องผู้หนีภัยต่าง ๆ กระทรวง


                  การต่างประเทศพยายามส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเรื่องผู้หนีภัย เพราะกระทรวงการ

                  ต่างประเทศไม่อยากถูกมองว่าให้แต่ที่อยู่อาศัยอย่างเดียว และไม่ท าอะไรเลย


                         ส าหรับเด็กและเยาวชนที่เป็นลูกหลานของผู้หนีภัยสงคราม  ต้องมาดูธรรมชาติของคนที่เรียนใน

                  นั้นด้วยว่าเป็นเฉพาะเด็ก พ่อกับแม่อยู่ที่ไหน แน่นอนว่าเด็กไม่ได้ไปเช้า-เย็นกลับ ถ้าหนีภัยจากการสู้รบ


                  เหตุใดจึงเลือกไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่พักพิง ขณะที่พื้นที่พักพิงก็มีโอกาส ถ้าไม่สามารถที่จะกลับได้ก็มีโอกาส

                  ที่จะได้ไปตั้งถิ่นฐานประเทศที่ ๓ คงต้องมานั่งดูว่าเหตุผล คืออะไรกันแน่


                         ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑  กระทรวงการ

                  ต่างประเทศไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่เข้าเป็นภาคี แต่การเข้าเราต้องมาดูความพร้อมด้วยเหมือนกัน และก็


                  ไม่ได้เป็นข้ออ้างตลอดกาลของไทย เพราะสิ่งที่เราท ามันดีอยู่แล้ว และมันก็ดีกว่าหลายชาติที่ท า มันเป็น

                  ข้อเท็จจริงที่เราท าอยู่ เราก็มีการคุยหารือกัน และมีคณะท างานพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย ซึ่งอธิบดีกรม

                  องค์การระหว่างประเทศเป็นประธาน และจริง ๆ ก็ประสงค์ที่จะใช้ผลจากการหารือที่ไปประชุมมา


                  ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย


                         ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่า กระทรวงฯ ได้รับมอบหมายจากสภาความมั่นคงแห่งชาติให้


                  รับผิดชอบควบคุมดูแลค่ายผู้ลี้ภัย ๙  แห่งใน ๔  จังหวัด ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีผู้ลี้ภัยอยู่

                  ทั้งสิ้น ๑๐๑,๓๑๒  คน อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (๔  แคมป์  ๓๘,๐๓๕  คน) จังหวัดตาก (๓  แคมป์

                  ๕๖,๑๙๒  คน) จังหวัดราชบุรี (๑  แคมป์  ๔,๒๘๑) จังหวัดกาญจนบุรี (๑  แคมป์  ๒,๘๐๔  คน)  การ

                  ควบคุมดูแลผู้ลี้ภัยจะด าเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักขั้นพื้นฐานด้านมนุษยธรรม คือ ให้ความ

                  ช่วยเหลือเฉพาะเรื่องความจ าเป็นขั้นพื้นฐาน โดยประสานงานกับ UNHCR  ซึ่งช่วยเหลือเรื่องจัดท า


                  ทะเบียน การย้ายพื้นที่พักพิง และเตรียมการส่งกลับ


                         นอกจากนี้ยังมีองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs)  ซึ่งเป็นองค์การการกุศลเข้าช่วยเหลือด้านความ

                  จ าเป็นพื้นฐาน เช่น การแพทย์ การศึกษา ฯลฯ ในแคมป์ มีทั้งหมด ๑๘  องค์การ เป็นของส่วนราชการ ๒

                  หน่วย ได้แก่ สมาคมวางแผนครอบครัว และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนดูแลรักษาโรคมาลาเรีย ใน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54