Page 48 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 48

๓๙
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                         จากการประชุมกับ UNHCR เนื่องใจวาระครบรอบ ๖๐ ปี ของอนุสัญญาว่าด้วยผู้หนีภัย และ ๕๐

                  ปี บุคคลไร้รัฐ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ก าหนดนโยบายเรื่องผู้หนีภัยไว้ ๖ ประการ คือ



                         ๑) การปรับปรุง ขยายเกณฑ์คัดกรองของผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว และออกเอกสาร

                            ประจ าตัวที่ได้รับการลงทะเบียนแล้ว


                         ๒) การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาชายแดน และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อเพิ่มความตระหนัก


                            ถึงหลักสิทธิมนุษยชน และความต้องการด้านความคุ้มครองของผู้หนีภัยจากการสู้รบ


                         ๓) การขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้หนีภัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว และบุคคลในความห่วงใย

                            อื่น ๆ ตามนโยบายการศึกษาภาคบังคับของรัฐบาลไทย



                         ๔) การให้บุตรของผู้หนีภัย และของบุคคลในความดูแลกลุ่มอื่น ๆ เข้าถึงการคุ้มครองตาม

                            พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก รวมทั้งให้บุคคลที่เกิดในประเทศไทยทุกคนมีสิทธิที่จะจดใน

                            ทะเบียนเกิด และสิทธิอื่น ๆ ภายใต้ข้อ ๗ ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ

                            เมือง



                         ๕) การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ เพื่อให้บุตรของผู้ลี้ภัยได้รับการจด

                            ทะเบียนเกิด และเอกสารประจ าตัวโดยทั่วถึง รวมทั้งการอนุญาตให้บุคคลจดทะเบียนเกิด

                            ย้อนหลังตามความเหมาะสม


                         ๖) การเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในความร่วมมือระหว่างภูมิภาคบนพื้นฐานของหลักการ


                            แบ่งเบาภาระระหว่างประเทศ รวมทั้งแนวทางการรับมือความท้าทายด้านมนุษยธรรมต่าง ๆ


                         เรื่องการชี้แจงกับต่างประเทศนั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องท า แต่การแก้ไขปัญหาต้องเริ่มจากพื้นที่ต้นทาง

                  ประเทศไทยมีการด าเนินการเชิงรุกในเรื่องผู้หนีภัยสงครามจากประเทศเมียนมาร์หลายเรื่อง แต่ไม่ได้มีการ

                  ประชาสัมพันธ์  และในส่วนของพม่าก็มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น ที่เห็นได้ชัด คือ รัฐบาลทหารพม่าเปิด


                  กว้างมากขึ้นที่จะเจรจาเรื่องผู้หนีภัยและบุคคลไร้รัฐ


                         เรื่องการมีหน่วยงานรับผิดชอบหรือเจ้าภาพในประเด็นผู้หนีภัยจากการสู้รบนั้น เมื่อเดือน

                  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔  กระทรวงการต่างประเทศช่วยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม แต่สภาความมั่นคง
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53