Page 47 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 47

๓๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  กระทรวงมหาดไทยเข้าไปช่วยเหลือปัจจัยขั้นพื้นฐานทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข และการศึกษา

                  ฝึกอบรมวิชาชีพ



                  ผู้แทนกองก ากับการต ารวจตระเวนชายแดน


                         ผู้แทนต ารวจตระเวนชายแดน (ตชด.) กล่าวว่า  ตชด. มีบทบาทสนับสนุนเรื่องการรักษาความ

                  สงบเรียบร้อยในศูนย์พักพิง และตรวจสอบในการเดินทางเข้า-ออกนอกพื้นที่ รวมทั้งการประสานงานกับ

                  หน่วยความมั่นคงในพื้นที่ต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ เช่น เชียงราย ตาก และกาญจนบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องการ

                  รักษาความสงบเรียบร้อย และการอ านวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ส าหรับนโยบายในการให้ความ


                  ช่วยเหลือก็เป็นไปตามหลักมนุษยธรรมตามแนวทางของ UNHCR อยู่แล้ว


                  ผู้แทนส านักงานตรวจคนเข้าเมือง


                         ผู้แทนส านักงานตรวจคนเข้าเมืองกล่าวว่า ส านักงานตรวจคนเข้าเมืองมีบทบาทเป็นฝ่าย

                  สนับสนุน จะไม่ได้เข้าไปควบคุมโดยตรง  ในส่วนของนโยบายต่อผู้ลี้ภัยจากการสู้รบจะเป็นไปตาม

                  แนวทางที่สภาความมั่นคง และกระทรวงมหาดไทยได้ก าหนดไว้ ซึ่งผู้ลี้ภัยจากการสู้รบก็ไม่ได้รับการ


                  ยกเว้นตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง เพราะยังไม่ใช่กลุ่มคนที่เข้าเมืองอย่างถูกต้อง แต่

                  ถ้าคนที่เข้ามาอยู่ในที่พักพิงก็จ ากัดให้อยู่ได้ชั่วคราว และให้อยู่ในที่ ๆ จ ากัดไว้ แต่หากออกพื้นที่ก็ถือว่าผิด

                  เงื่อนไข และถ้ากระท าความผิดก็จะพิจารณาไปตามความผิดที่เกี่ยวข้อง


                  ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ



                         ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เรื่องผู้หนีภัยเป็นประเด็นที่ไทยได้รับการยอมรับ เพราะ

                  ให้ทั้งที่และคนในการดูแล หน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ คือ


                         ๑) พยายามประชาสัมพันธ์ว่า การด าเนินการของไทยในการให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการ


                            สู้รบตามหลักมนุษยธรรม และบนพื้นฐานของการแบ่งเบาภาระระหว่างประเทศ


                         ๒) ร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งไม่เฉพาะแต่  UNHCR  แต่ก็ร่วมกับองค์การพัฒนา

                            เอกชน (NGOs) ต่าง ๆ ในการที่จะช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ และหาทางออกที่ยั่งยืน เพื่อช่วยให้

                            บุคคลเหล่านั้นมีทางออกต่อไป
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52