Page 46 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 46

๓๗
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                  ๓.๒  บทบาทของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง


                         สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ดังกล่าว ท าให้หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงต้องเข้าไปมี

                  บทบาทในการแก้ไขปัญหาของผู้หนีภัยสงคราม ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจว่า แต่ละหน่วยงานมีนโยบายต่อ

                  ผู้หนีภัยจากการสู้รบอย่างไร  และบทบาทของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่เป็นอย่างไร เป็นไปตามหลักสากลที่


                  พึงปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยหรือไม่  จึงมีการจัดเวทีสัมมนานโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า

                  : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔  ณ ห้อง ๗๐๙   ส านักงานคณะกรรมการ

                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาคารศูนย์ราชการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกล่าวถึงนโยบายและบทบาทของ

                  หน่วยงาน ดังนี้



                  ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)


                         ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติกล่าวว่า เรื่องการสู้รบในพม่าประเทศไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ

                  ปัญหา แต่ต้องมาแบกรับภาระในการช่วยเหลือดูแลผู้ลี้ภัย ซึ่งการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืน คือ การ

                  แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ประเทศต้นทางต้องมีเสถียรภาพทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ผู้ลี้ภัยสามารถ

                  เดินทางกลับประเทศของตัวเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี กล่าวคือ ผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่ พ.ศ.


                  ๒๕๒๗ เป็นต้นมา รัฐบาลทหารพม่าได้ปฏิบัติการปราบปรามชนกลุ่มน้อยท าให้บุคคลสัญชาติพม่าอพยพ

                  หลบหนีเข้ามาในบริเวณชายแดนไทย-พม่าทางทิศตะวันตก ซึ่งรัฐบาลไทยก็มีนโยบายผ่อนปรนให้บุคคล

                  เหล่านี้มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยการสู้รบจากพม่า คือ ให้อาศัยอยู่ชั่วคราวตามหลักมนุษยธรรม และให้กลับสู่

                  มาตุภูมิเมื่อสถานการณ์เอื้ออ านวย หรือภายในประเทศนั้นมีความสงบ โดยประเทศไทยได้ให้พักพิงอยู่ใน

                  พื้นที่ชั่วคราวชายแดนไทย – พม่า ๙ พื้นที่ ๔ จังหวัด (แม่ฮ่องสอน ตาก ราชบุรี และกาญจนบุรี)ทางกลุ่ม

                  การปกครอง และส านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ  (UNHCR)  ได้มีการส ารวจจัดท า


                  ทะเบียนในพื้นที่พักพิง ขณะเดียวกันทางการไทยก็ได้มีแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ คือ


                         ๑) การควบคุมดูแลผู้ลี้ภัยให้อยู่ในพื้นที่ที่ทางการไทยก าหนด



                         ๒) แบ่งเบาภาระของทางการไทยให้ประเทศที่ ๓ ไปตั้งถิ่นฐาน


                         ส าหรับการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ คือ กลุ่มบุคคลสัญชาติพม่าที่ลี้ภัยจากการสู้รบถ้าจะเข้าพื้นที่พัก

                  พิงได้จะต้องผ่านการกลั่นกรองพิจารณาระดับจังหวัด ส่วนการช่วยเหลือได้ให้องค์กรเอกชนผ่าน
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51