Page 45 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 45
๓๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
“อพยพมาจาก อ าเภอเก่อทะงุ้ง จังหวัดซะเองซะจี ห่างจากชายแดนไทยเป็นระยะทางเดินเท้า ๒
วัน (ประมาณ ๗๐ – ๘๐ กิโลเมตร เนื่องจากเขาเดินได้วันละประมาณ ๓๐ – ๔๐ กิโลเมตร) เพราะอยู่ที่
พม่าไม่ปลอดภัย ทั้งชีวิตและทรัพย์ เวลาที่เขาสู้รบกัน เมื่ออยากได้สิ่งของของเรา โดยเฉพาะข้าว ทั้งทหาร
พม่า ทหารกะเหรี่ยง ก็เข้ามาเอาเลย ถ้าทหารอยากได้ลูกเราเป็นลูกหาบ เราก็ต้องให้ ขัดไม่ได้ ตอนนี้
ลูกหลานก็มาอยู่ที่ประเทศไทยหมดแล้ว ไม่กลับไปแล้ว อยู่เมืองไทยดีกว่า อยู่ที่พม่านอนในบ้านไม่ได้
เลย”
๑) อ าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การสู้รบครั้งใหญ่ในพม่าเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓
ส่งผลกระทบมาถึงอ าเภอแม่สายด้วย จากการสัมภาษณ์ผู้อ านวยการศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิง
และชุมชน จ.เชียงราย พบว่า ผู้ลี้ภัยที่เข้ามาทางด่านที่อ าเภอแม่สายส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก เข้ามา
อาศัยอยู่กับญาติ เนื่องจากเป็นพื้นที่ปลอดภัย (Safe zone) ชายแดนฝั่งพม่าที่ติดกับเชียงรายเป็นเขตรัฐ
ฉาน มีทหารเป็นกองก าลังรักษาสันติภาพ เป็นเขตพลเมืองเป็นส่วนใหญ่ เป็นแหล่งผลิต จึงได้รับการรักษา
ไว้ให้เป็นอู่ข้าวอู่น ้า จึงเป็นเขตที่ค่อนข้างปลอดภัย บริเวณชายแดนที่มีการอพยพไป-มา จะอยู่ตามบริเวณ
ตะเข็บที่เป็นป่าเขาในเขตอ าเภอแม่ฟ้ าหลวง
๒) อ าเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ติดชายแดนที่เคยมีการสู้รบครั้งใหญ่
ระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองก าลังรัฐฉานเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นานกว่าหนึ่งเดือน ฝ่ายทหารพม่าได้รับ
บาดเจ็บ และเสียชีวิตเป็นจ านวนมาก ในระหว่างการสู้รบ ท าให้มีชาวบ้านจาก ๔ หมู่บ้านตามบริเวณ
ชายแดนพม่าอพยพเข้ามาในฝั่งไทยประมาณ ๙๐๐ คน / ๒๕๐ ครัวเรือน อาศัยอยู่ฝั่งไทยในบริเวณวัดฟ้ า
เวียงอินทร์ หลังเหตุการณ์สู้รบสงบ ทหารพม่าได้ปิดช่องทางผ่านแดนหลักแต่งและได้ฝังทุ่นระเบิดตาม
บริเวณชายแดนเป็นจ านวนมาก ส าหรับผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ปัจจุบันมีอยู่ ๑๓๒
ครัวเรือน ประชากร ๕๑๐ คนถูกจัดให้อยู่บนสันดอย “เมืองจ่อ” ติดกับชายแดน ถูกจ ากัดพื้นที่ในการ
เดินทาง แต่สามารถออกไปท างานรับจ้างในภาคเกษตรบริเวณใกล้เคียงได้ ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ไม่ต้องการกลับ
พม่า เนื่องจากไม่มั่นใจสถานการณ์ความปลอดภัยในฝั่งพม่า เหตุผลที่ต้องการอยู่ในประเทศไทยคือ
การศึกษาของเด็ก ไม่ทราบว่ามีกับระเบิดอยู่ที่ใดบ้าง และไม่มั่นใจในสถานการณ์ยุติการสู้รบอาจเป็น
สถานการณ์ชั่วคราว ช่องทางผ่านแดนหลักแต่งได้ถูกทหารพม่าปิดตายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕