Page 44 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 44

๓๕
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  ในฝั่งไทยจนถึงชายแดนไทยพม่า จากนั้นนายทุนได้ขอสัมปทานการตัดไม้จากรัฐบาลทหารพม่า เมื่อ

                  นายทุนจะตัดไม้ก็ได้ตัดถนนเข้าไปในรัฐกะเหรี่ยง และเมื่อมีถนนแล้วการเข้าโจมตีรัฐกะเหรี่ยงก็ท าได้ง่าย


                  ขึ้น


                         ช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓  เกิดการปะทะกันระหว่างกองก าลังทหารพม่ากับกองก าลังทหาร

                  กะเหรี่ยงในพื้นที่ อ าเภอพยาตองซู จังหวัดตันบูซายัด ตรงข้ามกับด่านพระเจดีย์สามองค์ อ าเภอสังขละบุรี

                  จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ ๙  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓  มีผู้ลี้ภัยที่มาจากหมู่บ้าน เจดีย์ล่าง ตองหวาย


                  กะเหย่งซุ ข้ามชายแดนมาทางบ้านแม่ติวประมาณ ๘๐  คน มีพวกที่หลบอยู่ตามป่าตามเขาประมาณ

                  ๑,๐๐๐ คน กระจายกันอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ ๑๐๐ คนบ้าง ๙๐ คนบ้าง  บางคนได้ไปอาศัยอยู่กับญาติใน

                  ชุมชนมอญ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ต าบลหนองลู อ าเภอสังขละบุรี ประมาณ

                  ๓,๐๐๐  คนโดยได้รับความช่วยเหลือจากโบสถ์คริสตจักรตามหลักมนุษยธรรมให้เข้ามาพักพิงในอาณา

                  บริเวณของโบสถ์คริสตจักร พร้อมทั้งจัดอาหาร น ้าดื่ม และเครื่องนอนเท่าที่จะหาได้ให้กับผู้ที่อพยพเข้ามา

                  ในเวลานั้น  ในวันที่สามของการอพยพเข้ามา ทหารได้มาสั่งการให้ผู้ลี้ภัยไปรวมกันที่วัดและให้เดินกลับ


                  พม่า หลังจากที่ได้รับแจ้งว่าการสู้รบสงบลงแล้ว แต่ในความเป็นจริงยังคงมีเสียงปืนยังดังไม่ขาดสาย จาก

                  การบอกเล่าของแม่ชีที่ให้การช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ทหารได้สั่งให้ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้กลับไปพม่าในตอนค ่าของวันที่

                  ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ แต่แม่ชีได้ร้องขอทหารว่าขอให้พวกเขานอนพักค้างคืน เพราะการเดินทาง

                  กลางคืนนั้นไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิง และคนแก่ แต่เมื่อรุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น ผู้ลี้ภัยยังไม่ทันได้รับ

                  ประทานอาหารเช้า ทหารได้สั่งให้ไปรวมกันที่วัด เพื่อผลักดันออกไปพร้อมกับผู้ลี้ภัยอื่น ๆ ที่อยู่กระจัด

                  กระจายกัน รวมทั้งหมดประมาณ ๕๐๐ คน ปัจจุบัน สถานการณ์สู้รบสงบลง จึงมีแรงงานจากฝั่งพม่าเดิน


                  ทางผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาท างานในโรงงานฝั่งไทยแบบมาเช้า เย็นกลับทุกวัน มีเด็กจากหมู่บ้านที่

                  ติดชายแดนไทยที่ อ าเภอพยาตองซู จังหวัดตันบูซายัด เดินทางเข้ามาเรียนหนังสืออยู่ในศูนย์การเรียนรู้ที่

                  จัดตั้งขึ้นโดยมูลนิธิลาซาล  ขณะนี้ยังมีผู้ลี้ภัยการสู้รบที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง และอยู่ในสวนยางใน

                  อ าเภอสังขละบุรี รับจ้างถากหญ้าในสวน มีรายได้วันละ ๑๐๐ บาท และรับจ้างกรีดยาง มีรายได้จาก

                  น ้ายางที่กรีดได้กิโลกรัมละ ๒ บาท พอหมดฤดูกรีดยางก็ไม่มีรายได้



                         ผู้ศึกษาได้สอบถามผู้ลี้ภัยที่เป็นแรงงานรับจ้างในสวนยางว่า เพราะเหตุใดจึงอพยพเข้ามาใน

                  ประเทศไทย  ได้รับค าตอบว่า
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49