Page 43 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 43

๓๔
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  บางส่วนไม่อยากกลับเพราะไม่ต้องการอยู่ในพื้นที่ที่อาจเกิดการสู้รบเมื่อไรก็ได้ จึงกระจายตัวอยู่ใน

                  กระจายอยู่ใน ๓  อ าเภอ คือ อ าเภอพบพระ อ าเภออุ้มฝาง และ อ าเภอท่าสองยาง รวมทั้งสิ้นประมาณ


                  ๔,๐๐๐ คน ผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กประมาณ ๓,๐๐๐ คน ต้องพักพิงอยู่ในบ้านพักซึ่งเรียกว่า Boarding House

                  โดยผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยมานานได้ประสานงานกับองค์กรที่ให้การสนับสนุนผู้ลี้ภัยให้เข้ามา

                  สนับสนุนงบประมาณในการจัดการจัดชั้นเรียนเพื่อให้การศึกษาแก่เด็กพร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณเป็น

                  ค่าอาหารด้วย เด็กที่อยู่ใน Boarding  House  ประมาณร้อยละ ๖๐-๗๐  มาจากภาวะสงคราม สภาพ

                  ความเป็นอยู่ของเด็กค่อนข้างล าบาก  ส าหรับผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน ก็จะมีอาชีพรับจ้างรายวันในภาค

                  เกษตรได้ค่าแรงวันละ ๘๐ บาท ขณะที่ค่าแรงขั้นต ่าจังหวัดตากวันละ ๑๗๐ บาท



                            ๒) อ าเภอสบเมย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เคยมีการสู้รบครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ท าให้มี

                  ผู้ลี้ภัยไหลทะลักเข้ามาในพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนจ านวนมาก พื้นที่พักพิงชั่วคราวหนีภัยการสู้รบใน

                  จังหวัดแม่ฮ่องสอน มี ๔  แห่ง คือ พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่สุริน ต าบลขุนยวม อ าเภอขุนยวม พื้นที่พัก

                  พิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวง อยู่ที่ต าบลสบเมย อ าเภอสบเมย พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ละอูน อยู่ที่


                  ต าบลแม่สามแลบ อ าเภอสบเมย และพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านใหม่ในสอย ต าบลปางหมู อ าเภอเมือง

                  พื้นที่พักพิงทุกแห่งอยู่ในความดูแลของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากประเทศเมียนมาร์

                  ประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และมีเลขาธิการ

                  สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆในการควบคุมดูแลผู้หนีภัยสงคราม รวมถึง

                  การแก้ไขปัญหาระยะยาว ส าหรับผู้ลี้ภัยที่อยู่นอกค่าย มีอยู่ที่บ้านแม่สามแลบ อ าเภอสบเมย ซึ่งลี้ภัยเข้า

                  มานานแล้ว จึงสร้างที่อยู่อาศัยแบบถาวรติดกับแม่น ้าสาละวิน ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับสัญชาติ


                  ไทย จึงถูกจ ากัดการเดินทางออกนอกพื้นที่ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท

                  เด็กได้มีโอกาสเรียนหนังสือในโรงเรียนของประเทศไทยในระดับประถมศึกษา แต่ไม่สามารถเรียนต่อใน

                  ระดับที่สูงกว่านั้นได้


                            ๓) อ าเภอสังขละบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  ในอดีตทหารพม่าเข้าโจมตีฐานที่ตั้งของรัฐ


                  กะเหรี่ยงได้ยาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา และการเดินทางขึ้นมาต้องผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยง

                  มาเป็นระยะ ๆ กองก าลังทหารของรัฐกะเหรี่ยงได้ใช้วิธีรบแบบกองโจร กล่าวคือ การซุ่มโจมตีกองทัพพม่า

                  ท าให้กว่าจะมาถึงฐานที่ตั้งของรัฐกะเหรี่ยงได้ก็เหลือทหารพม่าอยู่จ านวนไม่มากพอที่จะสู้รบต่อได้

                  จึงต้องยกทัพกลับ แต่สภาพภูมิประเทศดังกล่าวได้เปลี่ยนไป เมื่อรัฐบาลไทยให้สัมปทานแก่นายทุนตัดไม้
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48