Page 42 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 42

บทที่ ๓


                      การหนีภัยจากการสู้รบตามแนวตะเข็บชายแดน และบทบาทของหน่วยงานรัฐ




                         ดังที่กล่าวไว้ในบทที่ ๑  ว่า การสู้รบระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองก าลังของกลุ่มน้อยใน

                  บริเวณรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับอ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก และรัฐมอญซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอ าเภอ

                  สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ท าให้ชนกลุ่มน้อยบริเวณ

                  ชายแดนต้องอพยพเข้ามาในดินแดนของประเทศไทยจ านวนมากนั้น ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษา

                  สถานการณ์ของผู้ลี้ภัยในพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศเมียนมาร์ใน ๕  อ าเภอ คือ อ าเภอแม่สอด จังหวัด
                  ตาก เมื่อวันที่ ๑๓  –  ๑๔  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔   อ าเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เมื่อวันที่ ๒๔

                  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔   อ าเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่  ๒๕  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔

                  อ าเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔  อ าเภอแม่สาย จังหวัด
                  เชียงราย เมื่อวันที่ ๖ – ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ และอ าเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๕

                  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔  ประเด็นที่ผู้ศึกษาสนใจคือ สถานการณ์ของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร  หน่วยงานรัฐ

                  ด้านความมั่นคงที่เข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาของผู้หนีภัยสงครามมีนโยบายอย่างไรต่อผู้หนีภัย

                  จากการสู้รบ บทบาทของแต่ละหน่วยงานในพื้นที่ในการปฏิบัติต่อผู้หนีภัยจากการสู้รบเป็นไปตามหลัก

                  สากลหรือไม่  มีการส่งกลับผู้หนีภัยการสู้รบไปสู่อันตรายหรือไม่



                  ๓.๑ สถานการณ์การอพยพหนีภัยการสู้รบตามแนวตะเข็บชายแดน



                        จากการลงพื้นที่เพื่อศึกษาสถานการณ์การอพยพหนีภัยจากการสู้รบพบว่า สถานการณ์ของการ

                  อพยพหนีภัยจากการสู้รบมีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่  และคลี่คลายลงหลังจากการสู้รบ

                  ครั้งใหญ่เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ค่อนข้างมาก แต่ทุกพื้นที่ยังคงมีผู้ลี้ภัยที่ตกค้างอยู่จ านวนไม่น้อยที่อยู่

                  ในภาวะยากล าบาก  สถานการณ์การหนีภัยจากการสู้รบตามแนวตะเข็บชายแดนหลังจากการสู้รบเมื่อ

                  ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบันของแต่ละพื้นที่มีดังนี้



                            ๑) อ าเภอแม่สอด จังหวัดตาก  เมื่อปลายปี พ.ศ.  ๒๕๕๓  มีผู้ลี้ภัยเข้ามาที่อ าเภอแม่สอด

                  ประมาณ ๒๕,๐๐๐  คน ผู้ลี้ภัยได้รับการดูแลจากอ าเภอและกองก าลังผาเมืองโดยมีการจัดที่พักพิง

                  ชั่วคราวให้ เมื่อฝ่ายทหารได้รับข่าวว่าการสู้รบในฝั่งพม่าสงบลงแล้ว ก็มีการส่งผู้ลี้ภัยกลับ แต่การสู้รบมิได้

                  ยุติลงจริง ท าให้ผู้ลี้ภัยต้องกลับเข้ายังฝั่งประเทศไทย ๓-๔  รอบ ปัจจุบันไม่มีการสู้รบทางฝั่งพม่า ผู้ลี้ภัย


                  ส่วนใหญ่จึงกลับไปยังถิ่นที่อยู่ของตนแล้ว เพราะมีที่ดินท ากินและเลือกสวนไร่นาที่ต้องดูแล แต่มีผู้ลี้ภัย
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47