Page 41 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 41

๓๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”




                  ๒.๕  บทสรุป


                         จากการศึกษา อนุสัญญา พิธีสาร หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-refoulement)

                  กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย พบว่าอนุสัญญา ฯ และพิธีสาร ฯ ทั้งสองฉบับ มีบทบัญญัติที่

                  สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน มีเนื้อหาที่ครบถ้วนทั้งในด้านสิทธิและหน้าที่ของผู้ลี้ภัย ซึ่งท าให้รัฐภาคี

                  สามารถบริหารจัดการผู้ลี้ภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและน าไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ด้วยเหตุ


                  ดังกล่าว กฎหมายทั้งสองฉบับจึงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งยังเผชิญ

                  ปัญหาความขัดแย้งในบริเวณชายแดน  โดยอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ และพิธีสาร

                  เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๖๗  จะท าหน้าที่เป็นกรอบในการบริหารจัดการผู้ลี้ภัยโดยยึดหลัก

                  สิทธิมนุษยชน และช่วยให้การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



                         ส าหรับการปฏิบัติตาม “หลักการห้ามผลักดันกลับไปสู่อันตราย (non-refoulement)” ประเทศ

                  ไทยมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวด้วย เนื่องจากประเทศไทยเป็นภาคีของกติกา

                  ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง

                  เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ อนุสัญญา

                  ต่อต้านการทรมาน การปฏิบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย ่ายีศักดิ์ศรี และ


                  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาต่างๆ เหล่านี้มีบทบัญญัติรองรับ

                  หลักการห้ามการผลักดันบุคคลกลับไปสู่อันตราย ประเทศไทยจึงต้องยึดมั่นในหลักการดังกล่าวอย่าง

                  เคร่งครัด
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46