Page 40 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 40
๓๑
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
สิทธิในครอบครัว สืบเนื่องจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เห็นว่า จากช่วงปี ๒๕๒๐ มี
ชาวเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศไทยจ านวนมากโดยไม่ถูกต้องและได้รับการผ่อนผันให้อยู่
ชั่วคราว ระหว่างนั้น มีข้าราชการฝ่ายปกครอง ต ารวจ ทหาร และอื่นๆได้สมรสกับชาวเวียดนามอพยพ
จ านวนมาก ซึ่ง สมช. เห็นว่าน่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคง เพราะชาวเวียดนามอพยพในขณะนั้นมี
พฤติการณ์สนับสนุนทางการเมืองต่อประเทศตัวเอง รวมทั้งพยายามให้ได้มาซึ่งการเป็นคนไทยด้วย
วิธีการต่างๆ ท าให้ครม.มีมติห้ามข้าราชการสมรสหรืออยู่กินฉันท์สามีภรรยากับผู้อพยพและ ผู้ลี้ภัย โดย
เหตุผลเพื่อป้ องกันผลกระทบต่อตัวข้าราชการและการถูกคู่สมรสแสวงประโยชน์
ต่อมาส านักงานสิทธิมนุษยชน สภาทนายความมีหนังสือร้องเรียนว่า มติครม.ดังกล่าว เป็นการ
ปิดกั้นสิทธิเบื้องต้นในการก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและ ขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ดังนั้น สมช. จึงได้พิจารณาทบทวนมติครม.ดังกล่าวเพื่อให้
สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเสนอให้ยกเลิกมติครม.ดังกล่าว
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑กันยายน ๒๕๕๓ คณะรัฐมนตรีจึงยกเลิกมติ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๐ และ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ และ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๗ ที่
ก าหนดห้ามให้ข้าราชการสมรสหรืออยู่กินกับผู้ที่ยังมีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบด้วย
กฎหมาย โดยให้เป็นสิ่งที่กระท าได้ แต่สิทธิต่างๆ ที่ตามมาจากการสมรส รวมทั้งความผิดฐานหลบหนีเข้า
เมือง ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายก าหนด
สถานะบุคคล มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ เรื่องสถานะบุคคล กล่าวว่า
“คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการด าเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิ
ของบุคคล ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้ค านึงถึงความรอบคอบและความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้การด าเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ให้จัดท าโครงการส ารวจ
จัดท าทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตน ส าหรับบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎร และ
โครงการเร่งรัดให้สถานะตามกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยติดต่อกันเป็น
เวลานานตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล”