Page 39 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 39
๓๐
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
พิจารณาสถานะบุคคลสัญชาติพม่า พ.ศ. ๒๕๕๕ สาระส าคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า
UNHCR ได้เสนอบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบใน
พื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนไทย-พม่า ของ UNHCR ในโครงการจัดท าระเบียนผู้หนีภัยการสู้รบ
และการพิจารณาสถานะบุคคลสัญชาติพม่า พ.ศ. ๒๕๕๕ [MOU ๒๐๑๒/๕๒๒๘๑/๑๙๐๐/๑ THAA/PF
(๑๒๕๗๐๐๐)] พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้กระทรวงมหาดไทย พิจารณาลงนามซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ด าเนินการ
ตรวจสอบบันทึกความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบและการพิจารณาสถานะบุคคลสัญชาติ
พม่าที่ UNHCR เสนอมาแล้วเห็นว่า สาระส าคัญของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นไปตามบันทึกความ
เข้าใจ (MOU) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๔๘ จึงได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ UNHCR เสนอแล้ว เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๕
มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย แต่มีสถานะเป็นนโยบายเพื่อรองรับและ
สนับสนุนกฎหมาย และในกรณีนี้ ก็คือ การขอนโยบายเกี่ยวกับความตกลงระหว่างประเทศ ประเด็นที่
น่าสนใจ ก็คือ การท าทะเบียนประวัติคนในค่ายกรณีนี้เป็นเรื่องต่อเนื่อง ซึ่งเหมือนกับมาตรการในมติ
คณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ทุกประการ แสดงว่าการลงนามใน MOU ครั้งใหม่เมื่อวันที่
๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
๒.๔.๗ สิทธิอื่นๆ นอกเหนือจากที่ปรากฏในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
สิทธิด้านสุขภาพ ในมาตรา ๕๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐ ระบุว่า “บุคคลย่อม
มีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการ
รักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการ
สาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้ องกันและ
ขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์ รวมถึงในมาตรา
๘๐ ระบุว่า รัฐต้องด าเนินการตามแนวนโยบาย ด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
ใน (๒) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ อันน าไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน
ของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมี
ประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการ
สาธารณสุขโดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมย่อม
ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย”