Page 38 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 38
๒๙
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
๒.๔.๖ สิทธิในการมีหนังสือแสดงตน และหนังสือเดินทาง
มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ เรื่องสถานะบุคคล กล่าวว่า “คณะรัฐมนตรีมีมติ
อนุมัติในหลักการการด าเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ตามที่
กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยให้ค านึงถึงความรอบครอบ และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้การ
ด าเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ให้จัดท าโครงการส ารวจจัดท า
ทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตน ส าหรับบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎร และโครงการ
เร่งรัดให้สถานะตามกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยติดต่อกันเป็นเวลานานตาม
ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล”
ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ประเทศไทยได้ประกาศถอนข้อสงวนของไทยต่อข้อ ๗ ของอนุสัญญาว่าด้วย
สิทธิเด็ก ซึ่งประกันสิทธิของเด็กที่จะได้รับการจดทะเบียนเกิดทันทีภายหลังจากการเกิด และสิทธิที่จะ
ได้รับสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ในปัจจุบันเด็กทุกคนที่เกิดในไทยมีสิทธิได้รับการจดทะเบียนเกิดตาม
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๑ และภายใต้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น
บุตรของบุคคลต่างด้าวหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานหากเกิดในประเทศ
ไทยมีสิทธิที่จะขอสัญชาติไทยได้ แต่หากมิได้เกิดในประเทศไทย แต่จบสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
ก็มีสิทธิขอสัญชาติไทยได้ กรณีเด็กไร้รากเง้าหากอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย ๑๐ ปี และมีหลักฐานการ
เกิด ก็สามารถขอสัญชาติไทยได้เช่นกัน นอกจากนี้กรณีบุตรของแรงงานอพยพข้ามชาติจากประเทศ
เพื่อนบ้าน มีการด าเนินการที่จะให้เด็กเหล่านี้ได้รับสัญชาติตามบิดาและมารดาของประเทศต้นทาง โดย
ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานการจดทะเบียนการเกิดและการพิสูจน์สัญชาติของบิดามารดาที่เป็น
แรงงานอพยพข้ามชาติ
อนึ่ง เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่องการจัดท าทะเบียนผู้หนีภัยการสู้รบ
และการพิจารณาสถานะบุคคลสัญชาติพม่าเรื่อง การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง
กระทรวงมหาดไทยกับส านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ประจ าภูมิภาคไทย คณะรัฐมนตรี
รับทราบบันทึกความเข้าใจ (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING : MOU) ในการให้ความร่วมมือ
ในการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนไทย – พม่า ของส านักงาน
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (THE OFFICE OF THE UNITED NATION HIGH
COMMISSIONER FOR REFUGEES : UNSCR) ในโครงการจัดท าทะเบียนผู้หนีภัยการสู้รบและการ