Page 122 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 122
๑๑๓
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
การเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ นั้นนอกจากจะทําให้ประเทศ
จะมีความสามารถมากขึ้นในการจัดการแก้ปัญหาเกี่ยวกับประชากรกลุ่มนี้โดยเหมาะสมภายใต้โครงสร้าง
ทางกฎหมายที่ถูกต้อง ยังจะทําให้ประเทศได้รับการยกย่องจากนานาชาติและเป็นการสร้างการคุ้มครอง
แก่บุคคลที่เสี่ยงภัยต่อการถูกสังหาร บุคคลเหล่านี้ก็จะสามารถสนับสนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศและ
หลุดพ้นจากการเป็นบุคคลที่ผิดกฎหมายและไม่มีตัวตนในสังคม
ข. ข้อเสียของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑
การเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ทําให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครอง
สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัยตามที่ได้กําหนดไว้ในอนุสัญญา ซึ่งจะทําให้เกิดภาระด้านงบประมาณที่ใช้ใน
การดูแลผู้ลี้ภัย
นอกจากนี้ ยังกําหนดให้รัฐภาคีมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ ทั้งในการปรับ
ใช้บทบัญญัติในอนุสัญญานี้ รัฐภาคีต้องจัดหาข่าวสารและข้อมูลทางสถิติซึ่งสํานักงานข้าหลวงใหญ่แห่ง
สหประชาชาติร้องขอเพื่อจัดทํารายงานต่อองค์กรซึ่งมีอํานาจของสหประชาชาติ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ สภาวะ
ของผู้ลี้ภัย การอนุวัติการของอนุสัญญานี้ และ กฎหมาย ข้อบังคับซึ่งมีผลบังคับหรืออาจจะมีผลบังคับที่
เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย รัฐภาคีจะต้องแจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบถึงกฎหมายและข้อบังคับ ต่าง ๆ ของ
รัฐ ซึ่งรัฐต้องดําเนินการเพื่อปฏิบัติตามอนุสัญญานี้
๕.๖ แนวทางการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัย และการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยตามหลักสิทธิมนุษยชน
“ผู้ลี้ภัย” ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งย่อมมีสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเสมอภาคเท่าเทียมกับมนุษย์คนอื่น
ตามหลักสิทธิมนุษยชน สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ
ของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ โดยสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิติดตัวผู้ลี้ภัยตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขต
ปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด
รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิมนุษยชนของบุคคลไว้
อย่างชัดเจน ได้แก่ “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”
(มาตรา ๔), “การใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และ
เสรีภาพ” (มาตรา ๒๖), และ “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้