Page 125 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 125
๑๑๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ประเทศไทยนั้นนอกจากมีหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมืองแล้ว ประเทศไทยมีหน้าที่ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ดังนั้น ในขั้นตอน
การดําเนินการทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็กผู้ลี้ภัย ประเทศไทยต้องใช้ขั้นตอนและแนวทางการคํานึงถึง
๙
ผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก และเปิดโอกาสให้เด็กผู้ลี้ภัยได้เข้าถึงระบบการปกป้ องและคุ้มครองเด็กที่มีอยู่
ในปัจจุบัน
นอกจากการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยในระหว่างที่ขอลี้ภัยการสู้รบอยู่ในประเทศไทยแล้ว
ประเทศไทยยังสามารถดําเนินการแก้ไขปัญหาในระยะยาวในการป้ องกันมิให้เกิดการอพยพของผู้ลี้ภัย
จากพม่าเข้ามาประเทศไทยโดยการใช้กลไกประชาคมอาเซียนเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ
ส่งเสริมการพัฒนาการทางการเมืองและสันติภาพในพม่า อันเป็นแนวทางแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยตามแนว
ชายแดนไทย-พม่า อย่างยั่งยืน
๕.๗ ข้อเสนอแนะต่อท่าทีที่เหมาะสมของประเทศไทย
จากการศึกษาวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม การจัดสนทนากลุ่ม การประชุมร่วมกับหน่วยงาน
ของรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านผู้ลี้ภัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อท่าทีที่เหมาะสมของประเทศไทยดังนี้
๑. ประเทศไทยควรเข้าเป็นภาคีภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ และควร
บัญญัติกฎหมายภายในว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัย ซึ่งจะทําให้ประเทศไทยมีกรอบที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามหลัก
สิทธิมนุษยชนต่อผู้ลี้ภัย และเป็นไปตามข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับหลังจากการนําเสนอรายงาน
ประเทศต่อที่ประชุมคณะทํางาน Universal Periodic Review (UPR) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติ
๒. ประเทศไทยควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สอดคล้องกับสิทธิ
ในการขอลี้ภัยและหลัก การไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย
๓. นโยบายการส่งบุคคลออกนอกประเทศของประเทศไทยนั้นต้องสอดคล้องกับหลักการไม่ส่งผู้ลี้
ภัยกลับไปสู่อันตราย ไม่ว่าจะเป็นกรณีการส่งผู้ลี้ภัยการสู้รบจากประเทศเมียนมาร์ หรือประเทศอื่น ๆ โดย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดทํารายงานการประเมินสถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ที่ผู้ลี้ภัยหรือหนี
ภัยการสู้รบจะกลับไปอย่างรอบด้าน
๙
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๓