Page 126 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 126
๑๑๗
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
๔. ประเทศไทยควรพัฒนาการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยในค่ายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการจัด
การศึกษา การบริการสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ และ สิทธิในการทํางาน
๕. ประเทศไทยจะส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทางก็ต่อเมื่อ ประเทศต้นทางนั้นปลอดภัยสําหรับ
ผู้ลี้ภัย ทั้งในแง่ภัยจากการสู้รบ และ กับระเบิด อีกทั้ง ประเทศต้นทางมีความพร้อมในด้านระบบโครงสร้าง
พื้นฐาน การบริการด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การบริการสุขภาพ สวัสดิการ และมีการจัดเตรียมกลไกเพื่อ
การรักษาสันติภาพที่เหมาะสม
๖. รัฐบาลไทยควรเข้ามามีบทบาทในการเตรียมความพร้อมให้ผู้ลี้ภัยก่อนการเดินทางกลับ โดย
จัดโครงการต่าง ๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพผู้ลี้ภัย การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
๗. หากผู้ลี้ภัยหรือหนีภัยการสู้รบตัดสินใจเดินทางกลับมาตุภูมิเดิมด้วยความสมัครใจ รัฐบาลไทย
ควรเชิญหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเข้าเป็นสักขีพยานในการเดินทางกลับ อีกทั้งองค์การที่เป็น
สักขีพยานเหล่านั้นอาจพิสูจน์ความสมัครใจในการเดินทางกลับของผู้ลี้ภัยเหล่านั้น อย่างไรก็จะต้อง
คํานึงถึงประกันความปลอดภัยและการเดินทางกลับอย่างมีศักดิ์ศรีในดินแดนนั้น
๘. ในทางกลับกันหากไม่สามารถดําเนินการส่งกลับมาตุภูมิเดิมด้วยความสมัครใจได้ รัฐบาลไทย
ควรพิจารณาให้สิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อรอการส่งกลับประเทศเมียนมาร์เมื่อ
สถานการณ์ภายในประเทศเมียนมาร์มีความปลอดภัย ซึ่งสามารถกระทําได้ภายใต้พระราชบัญญัติคนเข้า
เมือง พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๗ กล่าวคือ ให้อํานาจรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ
เฉพาะเรื่องที่จะให้คนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายโดยยึดหลักการพื้นฐานใน
รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด เพื่อคงไว้ซึ่งการเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับไปสู่อันตราย
๙. ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไกความสัมพันธ์แบบทวิภาคีกับเมียนมาร์หลายกลไก คือ
คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee – RBC) คณะกรรมการการค้าร่วม
(Joint Trade Commission – JTC) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission – JC) และคณะกรรมการ
เขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee – JBC) โดยกลไกเหล่านี้มีตัวแทนฝ่ายรัฐเข้าไปเป็น
คณะกรรมการ แต่ยังขาดกลไกในการดูแลปัญหาผู้ลี้ภัยจากชายแดน จึงควรมีคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุด
หนึ่งคือ คณะกรรมการสถานภาพผู้ลี้ภัยจากการสู้รบประจําจังหวัด (PAB) ให้มีบทบาทหน้าที่ในการ
ติดตามและประเมินสถานการณ์ตามแนวชายแดน รวมทั้งสําหรับผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้ามาใหม่ควรได้รับการ