Page 121 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 121

๑๑๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  ผู้ลี้ภัยผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศด้วย ความตกลงครั้งนี้มีขึ้นในการประชุมที่บาหลีใน


                  อินโดนีเซีย โดยมีออสเตรเลียเป็นผู้ทําข้อเสนอและผลักดันให้มีข้อตกลงในเรื่องนี้ ทั้ง ๓๒ ประเทศเห็นด้วย

                  กับข้อเสนอของออสเตรเลียที่อยากให้ทั้งภูมิภาคร่วมกันพิจารณาและแก้ไขปัญหาที่ว่านี้ การประชุมที่

                  บาหลีเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคในเรื่องการลักลอบพาคน

                  เข้าออกประเทศ การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง โดยกรอบความร่วมมือที่ออกมาจาก

                  การประชุมที่บาหลี ให้แนวทางสําหรับการจัดการกับผู้ลักลอบพาคนเข้าออกประเทศ ผู้ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยผิด


                  กฎหมาย และผู้ถูกนําตัวไปค้าขาย โดยมีหลักการว่าจะต้องปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ในลักษณะที่ส่งเสริม

                                                                          ๖
                  ศักดิ์ศรีและชีวิตมนุษย์ รวมทั้งการรับภาระร่วมกันระหว่างประเทศ

                         ประเทศไทยมีความจําเป็นที่จะต้องจัดเตรียมความพร้อมต่อการก่อตั้งประชาคมอาเซียนใน

                  พ.ศ. ๒๕๕๘ ในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคม ประเทศไทยควรเล็งเห็นความสําคัญของหลักสิทธิมนุษยชน


                  และตระหนักว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมความมั่นคงภายในของประเทศสมาชิก

                  และยังเป็นหลักประกันการไหลเวียนของทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มประเทศสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ

                  อีกทั้ง เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้ประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีความมั่นคง

                  ทางสังคม



                         ประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ประเทศไทยต้องให้ความสําคัญ

                  พิจารณาสร้างกรอบและมาตรฐาน และการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑

                  สามารถช่วยทําหน้าที่ดังกล่าวได้


                         ๔.  เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ


                          อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยเป็นกรอบทางกฎหมายที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก


                  ซึ่งปัจจุบันมีประเทศที่เข้าเป็นภาคีแล้วกว่า ๑๔๕ ประเทศ การเข้าเป็นภาคีย่อมเป็นการแสดงให้เห็นความ

                  ตั้งใจจริงในการเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ

                  ผู้ลี้ภัย สร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับต่อวิธีการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัย









                  ๖  Voice of America, “๓๒ ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิคทําความตกลงที่บาหลี ร่วมงานต่อต้านการค้ามนุษย์ และกําหนด

                  แนวปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศ”http://www.voafanti.com/gate/big
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126