Page 118 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 118
๑๐๙
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เมียนมาร์เป็นปัญหาของประเทศไทยด้วยเช่นกัน ปัญหาความขัดแย้งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการค้าตาม
แนวชายแดน การสู้รบที่รุนแรงภายหลังการเลือกตั้งในประเทศเมียนมาร์เมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ทําให้เกิด
การอพยพครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ ๒๐ ปี โดยมีชนกลุ่มน้อยตามบริเวณชายแดนอพยพเข้าประเทศไทยใน
เขตพื้นที่จังหวัดตากติดกับจังหวัดเมียวดีของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่าเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน ซึ่งประเทศไทยได้เข้าไปดูแลผู้ลี้ภัยโดยจัดที่พักพิงชั่วคราว จัดหาอาหาร และดูแล
สุขภาพอนามัยให้แก่ผู้ลี้ภัยนั้น เป็นนโยบายที่ดีที่พึงปฏิบัติต่อประเทศเพื่อนบ้าน แต่ขณะเดียวกัน
ประเทศไทยควรจะทําการสรุปบทเรียนการส่งผู้ลี้ภัยสงครามกลับไปยังบ้านเกิดของตนภายใต้หลักการ
ของการส่งกลับที่ไม่เป็นการกดดันให้ไปเผชิญกับภัยอันตรายด้วยเช่นกัน
๕.๕ ข้อดีและข้อเสียของการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้วงล้อมของประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาความขัดแย้งภายในสูง
จนเกิดภาวะสงคราม นับตั้งแต่สมัยสงครามอินโดจีนเมื่อ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา และความขัดแย้งภายใน
พม่าในปัจจุบัน ซึ่งทําให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านอพยพลี้ภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้น ได้มีเสียง
เรียกร้องจากนานาชาติให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ เพื่อให้
การบริหารจัดการเรื่องผู้ลี้ภัยมีความเป็นสากลมากขึ้น จึงควรทําการวิเคราะห์ว่า การเข้าเป็นภาคีของ
อนุสัญญาดังกล่าว ก่อให้เกิดผลดีและผลเสียต่อประเทศไทยอย่างไร
ก. ข้อดีของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑
๑. เป็นกรอบในการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย
เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยทําให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักของผู้ลี้ภัย
จํานวนมากในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาแม้ทางรัฐบาลไทยจะได้
ดําเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง แต่การแก้ไขปัญหายังขาดวิธีการจัดการอย่างเป็นระบบและยังคง
มีปัญหาอุปสรรคในการดําเนินการอีกหลายประการ อาทิ ปัญหาในเรื่องกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่
ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง รวมถึงปัญหาในเรื่องทัศนคติของเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน จึงจําเป็นที่ทุกฝ่าย
ต้องร่วมกันพิจารณากําหนดแนวทางดําเนินงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
ประเทศไทยจึงจําเป็นที่จะต้องมีกรอบทางกฎหมายเพื่อบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และเป็นหลักประกัน
ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานโดยสุจริตให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงานและลดโอกาสในการ