Page 123 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 123
๑๑๔
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
ของประชาชน” (มาตรา ๒๘)
นอกจากนี้ ประเทศไทยมีหน้าที่ในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยตามหลักลิทธิมนุษยชน เนื่องจากประเทศ
ไทยได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑ จึงมีพันธกรณีตามสนธิสัญญา
ต่าง ๆ ที่เข้าเป็นภาคี เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการจัดการเลือกปฏิบัติ
ต่อสตรีทุกรูปแบบ ฯลฯ เป็นต้น ผู้ลี้ภัยจึงมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามสถานะเฉพาะของตน ซึ่ง
กฎหมายให้ความคุ้มครองเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะ เด็ก และสตรี
โดยกติการะหว่างประเทศที่ได้กล่าวถึงสิทธิของมนุษย์แต่ละคนไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมมาก
ที่สุดฉบับหนึ่ง คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่กล่าวถึงสาระของ
สิทธิในส่วนที่เป็นการปฏิบัติต่อผู้ถูกลิดรอนเสรีภาพอย่างมีมนุษยธรรม การห้ามบุคคลถูกจําคุกด้วยเหตุที่
ไม่สามารถชําระหนี้ตามสัญญาได้ ความเสมอภาคของบุคคลภายใต้กฎหมาย การห้ามมิให้มีการบังคับ
ใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง สิทธิการได้รับรองเป็นบุคคลตามกฎหมาย การห้ามแทรกแซงความเป็น
ส่วนตัว เป็นต้น
โดยรัฐสมาชิกของกติกาฉบับดังกล่าวได้รับรองว่าจะ “เคารพและประกันสิทธิของบุคคล ห้ามการ
เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ
สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกําเนิด หรือสภาพอื่นใด” อีกทั้ง คณะกรรมาการสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติ ได้กล่าวในความเห็นทั่วไปที่ ๑๕ เน้นยํ้าเรื่องการปฏิบัติของรัฐภาคีต่อคนต่างด้าวว่าตาม
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองว่า “รัฐภาคแต่ละรัฐแห่งกติกานี้จะต้อง
ประกันแก่ปัจเจกชนทั้งปวงภายในดินแดนของตน และภายใต้เขตอํานาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่ได้รับ
การรับรองในกติกานี้ โดยทั่วไปแล้ว สิทธิต่าง ๆ ซึ่งได้รับการรับรองตามกติกานี้จะต้องนํามาใช้กับบุคคล
ทั้งปวง โดยมิต้องคํานึงถึงการต่างตอบแทน สัญชาติหรือการไร้สัญชาติของบุคคลนั้น”
ประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ
เมืองจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพและประกันสิทธิของผู้ลี้ภัยที่ได้รับการรับรองไว้ในกติกาฉบับนี้ โดย