Page 127 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 127

๑๑๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  พิจารณาคัดกรองจากคณะกรรมการชุดนี้ โดยควรเปิดให้องค์กรภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญด้าน


                  ผู้ลี้ภัยเป็นคณะกรรมการด้วย


                         ๑๐.  รัฐบาลควรเพิ่มข้อพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ จากเดิมที่รัฐจะรับให้

                  ความช่วยเหลือเฉพาะผู้ลี้ภัยความตายที่หนีภัยจากการสู้รบที่เป็นภัยถึงแก่ชีวิตโดยตรงอันเนื่องมาจาก

                  สงครามเท่านั้น ซึ่งควรเพิ่มการพิจารณารวมไปถึงผู้ที่หนีภัยความตายในรูปแบบอื่นด้วย เช่น ภัยจากการ


                  ถูกบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งการคุกคามดังกล่าวนําไปสู่การทารุณร่างกายและเป็นการละเมิดสิทธิ

                  มนุษยชนขั้นรุนแรง สมควรได้รับการคุ้มครองดูแลเฉกเช่นเดียวกันผู้ลี้ภัยการสู้รบด้วย เนื่องจากเป็นภัยที่

                  เป็นอันตรายถึงชีวิตเช่นกัน


                         ๑๑.  รัฐบาลควรมีบทบาทในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ลี้ภัยการ


                  สู้รบเชื้อชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาในประเทศไทยทั้งในส่วนของพื้นที่พักพิงชั่วคราว ๙ แห่งและผู้ลี้ภัยการสู้รบที่

                  อยู่นอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวที่ใช้ชีวิตร่วมสังคมเดียวกันกับประชาชนไทยเพื่อความเข้าใจอันดีของ

                  ประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่งหากกลไกลของสังคมเช่น นักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคธุรกิจและประชาชนมี

                  ความเข้าใจที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงแล้วย่อมจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้รัฐบาลวางนโยบายที่เหมาะสม

                  กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้



                          ๑๒.  สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง ควรกําหนดแนวทางแก่

                  เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ในทางที่จะเคารพหลักการไม่ผลักดันชาวพม่าที่

                  ลี้ภัยการสู้รบกลับไปเผชิญกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132