Page 117 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 117

๑๐๘
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  ประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่นักธุรกิจประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะที่มีพรมแดนติดกับพม่า อาทิ


                  จีน ก็ประสบปัญหาในลักษณะเช่นนี้ด้วย


                         ความสัมพันธ์ทางสังคม วัฒนธรรม และความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าได้ลงนามความตกลง

                  ทางวัฒนธรรมไทย-พม่า เมื่อวันที่ ๒๔  สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒  โดยกําหนดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือน

                  ระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะนาฏศิลป์ ของทั้งสองฝ่าย และให้ความร่วมมือในการ


                  บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้อัญเชิญ

                  ผ้าพระกฐินพระราชทาน จากประเทศไทยไปถวายที่วัดพุทธในพม่าทุกปีนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นมา


                         นอกจากนี้ ไทยให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าใน ๓  สาขาคือ การเกษตร การศึกษา และ

                  สาธารณสุข  รวมทั้งให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปศุสัตว์และการประมง การ


                  คมนาคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย


                         โดยภาพรวมจึงอาจสรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในยุคปัจจุบันอยู่ในภาวะปกติ

                  ไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ที่เป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายหนักใจ  อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากภูมิประเทศบริเวณ

                  พรมแดนไทย - พม่า ส่วนใหญ่เป็นถิ่นทุรกันดาร อยู่ห่างไกลจากการควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย


                  จึงเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมกับพวกชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาอยู่อาศัย ชนกลุ่มน้อยดังกล่าว ได้มี

                  บางส่วนเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตแดนไทย นอกจากนี้ในส่วนที่อยู่ในเขตพม่า เมื่อถูกทหารรัฐบาลทหารพม่า

                  ปราบปราม ก็หนีเล็ดลอดเข้ามาในเขตของไทย บางกลุ่ม ลักลอบค้ายาเสพติด และสินค้าหนี

                  ภาษี พฤติกรรมดังกล่าว ทําให้พม่าเกิดความคลางแคลงใจว่า ฝ่ายไทยให้การสนับสนุน และให้ที่พักพิงแก่

                  ชนกลุ่มน้อยในพม่า ปัญหาผู้พลัดถิ่น และผู้หลบหนีเข้าเมือง  มีชาวพม่าที่อพยพหลบภัยเข้ามาในเขตไทย


                  แบ่งออกเป็นผู้ที่เข้ามาก่อน พ.ศ. ๒๕๑๙   ซึ่งทางไทยถือว่า เป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า ส่วนที่เข้ามาหลัง

                  จากนั้น ถือว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ประเทศไทย มีนโยบายต่อชนกลุ่มน้อย และผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า

                  ให้ผลักดันออกจากเขตแดนไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา  แต่ก็ได้ผ่อนผันตามหลักมนุษยธรรม ให้

                  พักพิงอยู่ในเขตแดนไทยได้เป็นการชั่วคราว โดยอยู่ในความควบคุม เพื่อรอการผลักดันออกไป แต่ถ้าเป็น

                  ชนกลุ่มน้อยติดอาวุธ และผู้หลบหนีเข้าเมือง จะทําการผลักดันทันที นอกจากนั้นไทยยังได้จัดตั้งหมู่บ้าน


                  ป้ องกันตนเอง ชายแดนไทย - พม่า อีกด้วย


                         ปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศเมียนมาร์ ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของพม่าและชนกลุ่มน้อย ไม่ใช่

                  เป็นปัญหาภายในที่เราในฐานะคนนอกหรือประเทศเพื่อนบ้านไม่ควรยุ่งเกี่ยว เพราะปัญหาของประเทศ
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122