Page 120 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 120

๑๑๑
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                          (๑) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มี


                  ระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือ

                  กับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง


                           (๒)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอํานวยความ

                  สะดวกใน   การติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทําให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับ


                  ภูมิภาคอื่น ๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน


                           (๓)  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกัน

                                                                                          ๕
                  ภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม


                          ทั้งนี้  การคุ้มครองสิทธิและมนุษยชนของรัฐสมาชิกเป็นปัจจัยที่สําคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลต่อ

                  ความร่วมมือในประชาคมอาเซียน ด้วยการตระหนักถึงความสําคัญดังกล่าว จึงได้มีการจัดตั้ง

                  “คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยมนุษยชน-ไอซาร์” (ASEAN  Inter-governmental

                  Commission on Human Rights-AICHR) ในการประชุมสุดยอดผู้นาสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออก

                  เฉียงใต้ ครั้งที่ ๑๕ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามมาตรา ๑๔ ของกฎบัตรอาเซียน



                          ไอซาร์ (ASEAN  Inter-governmental  Commission  on  Human  Rights-AICHR)  มีภารกิจใน

                  การพัฒนาร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นก้าวสําคัญของอาเซียนในการสร้าง

                  มาตรฐานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค โดยจะมีการจัดทําร่างเสนอต่อคณะกรรมาธิการ

                  ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕



                          นอกจากนี้ ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นหลายประเทศได้มีการ

                  ดําเนินการหรือมีกฎหมายภายในที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ เป็นที่

                  เรียบร้อยแล้วหรืออยู่ระหว่างดําเนินการ เช่น ประเทศมาเลเซียซึ่งอยู่ในขั้นการอนุวัติกฎหมายภายใน

                  เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างมาเลเซียกับออสเตรเลีย



                         นอกจากนี้ ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ประเทศต่าง ๆ รวม ๓๒  ประเทศในภาคพื้นเอเชีย

                  แปซิฟิคได้ทําความตกลงที่จะร่วมมือกันทํางานต่อต้านการค้ามนุษย์ และร่วมรับผิดชอบในปัญหาเกี่ยวกับ





                  ๕  ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย. “ความหมายและความสําคัญของประชาคมอาเซียน”. http://www.enn.co.th/๒๓๐๘
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125