Page 124 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 124

๑๑๕
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  ปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทาง เชื้อชาติ  สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง


                  สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นกําเนิด หรือสภาพอื่นใด อาทิ


                         (๑)  สิทธิในการมีชีวิตอยู่ และ เสรีภาพจากการถูกทรมาน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ

                  พลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กําเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการ

                                                                                ๗
                  คุ้มครองโดยกฎหมาย บุคคลจะต้องไม่ถูกทําให้เสียชีวิตโดยอําเภอใจ..”  และ  “บุคคลจะถูกทรมาน หรือ

                                                                              ๘
                  ได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือตํ่าช้ามิได้”

                         โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ตีความมาตรา ๗ ในความเห็นทั่วไปที่ ๒๐

                  ระบุว่า    ความหมายของมาตรานี้ยังได้ห้ามรัฐภาคีในการส่งบุคคล ไปยังประเทศอื่น ซึ่งบุคคลนั้นได้รับ

                  อันตรายจากการถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือตํ่าช้า ไม่ว่า


                  จะด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การขับไล่ หรือ refoulement  ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงต้องเคารพต่อ

                  หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย และกําหนดให้มีการพิจารณาตรวจ สอบความปลอดภัยในประเทศ

                  ต้นทาง เพื่อให้เป็นการเคารพและปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว


                         (๒)  การรับรองว่าบุคคลทั้งปวงย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมายและได้รับการคุ้มครองอย่างเท่า


                  เทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในกรณีนี้ กฎหมายจะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติใด ๆ และต้อง

                  ประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด เช่น

                  เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือ

                  สังคม ทรัพย์สิน กําเนิด หรือสถานะอื่น ๆ (ข้อ ๒๖)



                         (๓)  เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยมาตรการต่าง ๆ ที่จําเป็นต่อสถานะของผู้เยาว์

                  จากครอบครัวของตน สังคมและรัฐ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา

                  ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือสังคม ทรัพย์สิน หรือกําเนิด (ข้อ ๒๕ (๑)) เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการจด

                  ทะเบียนทันทีภายหลังการเกิด และต้องมีชื่อ (ข้อ ๒๔ (๒)) เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งสัญชาติ (ข้อ ๒๔

                  (๓))






                  ๗  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๖
                  ๘  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๗
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129