Page 119 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 119
๑๑๐
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
แสวงหาประโยชน์ทางทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพ
ผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ ยังเป็นการแสดงถึงพันธกรณีของรัฐในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยตามกฎหมายระหว่าง
ประเทศอันเป็นที่ยอมรับและตามมาตรฐานด้านมนุษยธรรม และอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.
๑๙๕๑ ยังเป็นหลักเกณฑ์ที่เคารพหลักอํานาจอธิปไตยของรัฐ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจําแนก
ผู้ลี้ภัย จากคนเข้าเมืองกลุ่มอื่น ๆ อันทําให้การบริหารจัดการประชากรเป็นไปอย่างเหมาะสม
๒. แบ่งเบาภาระในการดูแลผู้ลี้ภัยกับประเทศภาคีสมาชิก
อารัมภบทของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ กล่าวว่า “การให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย
นั้นอาจ เป็นการทําให้บางประเทศแบกรับภาระหนักเกินไป และการแก้ไขปัญหาซึ่งมีขอบเขตและลักษณะ
เป็นกฎหมายระหว่างประเทศนั้น… ย่อมไม่ประสบความสําเร็จหากปราศจากความร่วมมือระหว่าง
ประเทศ”
อนุสัญญาฉบับนี้ได้ทําหน้าที่แก้ปัญหาความไม่เสมอภาคระหว่างประเทศผู้รับ และยอมรับ
ขอบเขตระหว่างประเทศในเรื่องของผู้ลี้ภัย อีกทั้งยังให้ความสําคัญของการรับภาระและการแก้ไขปัญหา
โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างรัฐ อีกทั้ง การช่วยเหลือผู้ลี้ภัยโดยรัฐภาคียังกระทําได้โดยไม่ก่อให้เกิด
ความขัดแย้งระหว่างรัฐ เพราะเมื่อรัฐอันเป็นภาคีของอนุสัญญาให้ที่ลี้ภัยแก่คนจากรัฐอื่น รัฐที่เป็นเจ้าของ
ผู้ลี้ภัยก็สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการกระทําที่สันติ ตามหลักมนุษยธรรม และตามกฎหมาย แทนที่จะเป็น
การกระทําที่แสดงออกถึงความเป็นศัตรู
ด้วยเหตุผลดังกล่าว การเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ จะทําให้
รัฐบาลไทยสามารถเรียกร้องและใช้เป็นพื้นฐานในการประสานความช่วยเหลือกับประเทศภาคีอื่น ตาม
หลักการร่วมกันแบ่งเบาภาระ (Responsibility sharing) ในการดูแลผู้ลี้ภัยได้โดยชอบธรรม
๓. เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความร่วมมือ
ในเอเชียแปซิฟิก
ประชาคมอาเซียนนั้นจะเป็นประชาคมซึ่งประกอบด้วยความสัมพันธ์ใน ๓ เสาหลัก คือ ด้าน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมวัฒนธรรม