Page 116 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 116
๑๐๗
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
พ.ศ. ๒๕๔๔) พลโท ขิ่น ยุ้น เยือนไทย (๓-๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศเยือนพม่า (๑-๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์
เยือนไทย (๒๒-๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔) และการพบปะกันระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
ต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกับพลโท ขิ่น ยุ้น ที่เมืองท่าขี้เหล็กและอําเภอแม่สาย
เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
โดยภาพรวม พม่ามีท่าทีตอบสนองการดําเนินนโยบายของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นที่
กําลังส่งผลกระทบในทางลบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของพม่าเอง อาทิ ปัญหายาเสพติด
ปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ ฯลฯ อย่างไรก็ดี เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น
ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจด้อยกว่าไทย พม่ายังคงมีความหวาดระแวงต่อการดําเนินนโยบายต่าง ๆ ของ
ไทยอยู่ โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งนโยบายส่งเสริมการค้าการลงทุนของไทย นอกจากนี้
พม่ายังคงปกป้ องความเปราะบางของสถาบันการเมืองของตนจากแนวคิดเสรีนิยมจากไทย พม่ามีท่าที
ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงต่อบทบาทของไทยในกระบวนการ พัฒนาการเมืองภายในของพม่าไม่ว่าจะภายใต้
บริบทใด
ในด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับพม่ามีทั้งรูปแบบการค้าปกติและการค้าชายแดน โดยฝ่าย
ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด และมูลค่าการค้ามีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในปี ๒๕๔๔ ไทย
เสียเปรียบดุลการค้าต่อพม่าเนื่องจากการชําระค่าก๊าซธรรมชาติที่ไทยได้ซื้อจากพม่า ไทยกับพม่ามีความ
ตกลงการค้าระหว่างกัน ๓ ฉบับ ได้แก่ ความตกลงทางการค้าไทย-พม่า (ลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่กรุงย่างกุ้ง) บันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า
(ลงนามเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ ที่กรุงเทพฯ) และความตกลงการค้าชายแดน (ลงนามเมื่อ
วันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่กรุงย่างกุ้ง)
การที่ระบบเศรษฐกิจของพม่า เป็นระบบที่ควบคุมโดยรัฐบาลอย่างเข้มงวด กอปรกับการที่รัฐบาล
ทหารพม่ามักเชื่อมโยงปัญหาทางการเมืองภายในพม่ากับการดําเนินความสัมพันธ์ด้าน อื่น ๆ รวมทั้ง
ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ทําให้ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่ามักได้รับ
ผลกระทบ อาทิ ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนโดยไม่
คํานึงผลกระทบและความตกลงที่มีอยู่ การปิดชายแดน และการยกเลิกสัมปทานประมง ซึ่งไม่เฉพาะ