Page 115 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 115

๑๐๖
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                          (๑) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee – RBC) แม่ทัพภาคของ


                  ทั้งสอง ประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณ

                  ชายแดนร่วมกันจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒


                         (๒)  คณะกรรมการการค้าร่วม (Joint  Trade  Commission  –  JTC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

                  พาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้า


                  ระหว่างกันจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓


                         (๓) คณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission – JC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

                  ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในภาพรวมจัดตั้งเมื่อมกราคม  พ.ศ.

                  ๒๕๓๖



                         (๔)  คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint  Boundary  Committee  –  JBC) รัฐมนตรีช่วยว่าการ

                  กระทรวง การต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมเพื่อสํารวจ ปักปัน และแก้ปัญหาเขตแดน

                  ร่วมกัน จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒



                         ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปในลักษณะคล้ายกับลิ้นกับฟันที่มีการกระทบกระทั่งกัน

                  บ้าง เช่น เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒  จนกระทั่งถึงการปะทะกันตามแนว

                  ชายแดนและการทําสงครามจิตวิทยาโจมตีซึ่งกันและกันอย่างรุนแรงในช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๔   ส่งผลให้

                  บรรยากาศความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในสภาวะตึงเครียด และตกตํ่าถึงขีดสุดเมื่อรัฐบาลทหารพม่าตีพิมพ์

                  บทความจาบจ้วงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ซึ่งพัฒนาการความขัดแย้งดังกล่าวได้ก่อให้เกิด


                  กระแสชาตินิยมและ ความรู้สึกต่อต้านพม่าอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนไทย


                         การเดินทางเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔  เป็นจุดเปลี่ยน

                  สําคัญที่นําไปสู่การรื้อฟื้นการดําเนินความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยกับพม่า การเยือนดังกล่าว

                  เปรียบเสมือนการไขประตูไปสู่กระบวนการแก้ไขปัญหา ที่คั่งค้างรวมทั้งการผลักดันให้เกิดความร่วมมือใน


                  ประเด็นปัญหาเร่งด่วนระหว่างกัน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย รวมทั้งปัญหา

                  ผู้หลบหนีภัยการสู้รบ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล้วน

                  ส่งผลให้บรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าโดยรวมกลับคืนสู่สภาวะปรกติอีกครั้ง โดยในช่วงที่

                  ผ่านมา มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงหลายครั้ง ได้แก่ นายกรัฐมนตรีเยือนพม่า (๑๙-๒๐ มิถุนายน
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120