Page 114 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 114

๑๐๕
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  มาร์มีแนวโน้มในทางดีขึ้น  ประกอบกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศเมียนมาร์ที่มี


                  ภูมิหลังเป็นอดีตนักการทูตประจําประเทศไทยและเคยเป็นนักการฑูตประจําอยู่ที่สหประชาชาติ  น่าจะทํา

                  ให้ประเทศเมียนมาร์มีพัฒนาการในด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องให้

                  ความสําคัญควบคู่กันไป คือการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ให้ประโยชน์กับประชาชนในประเทศเมียนมาร์

                  อย่างแท้จริงหรือไม่ เป็นแนวโน้มของสถานการณ์ที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป



                         เอริกา เฟลเลอร์ เจ้าหน้าที่ด้านการคุ้มครองระดับสูงสุดในหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ

                  แสดงความเห็นว่า การหาทางออกให้สถานการณ์ผู้ลี้ภัยระยะยาวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และมีโอกาสมากมายที่

                  ไม่เคยมีมาก่อน ..... ประเทศเมียนมาร์มีรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญต่อชุมชน

                  นานาชาติตั้งแต่เข้ารับตําแหน่ง ที่สําคัญมากไปกว่านั้นคือต่อประชาชนในชาติ มีสัญญาณในเชิงบวก

                  หลายประการที่แสดงให้เห็นว่าหลายสิ่งในพม่าเปลี่ยนไป  แต่การเปลี่ยนแปลงในประเทศเมียนมาร์ยังคง


                  เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันยั่งยืน ซึ่งทําให้ประชาชนมีคุณภาพ

                  ชีวิตที่ดี มีสิทธิเสรีภาพหรือไม่ หรือเป็นเพียงความต้องการในการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศเข้าไปลงทุน

                                    ๔
                  ในพม่ามากขึ้นเท่านั้น

                  ๕.๔    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ในปัจจุบัน


                         ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับพม่าเมื่อวันที่  ๒๔  สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑   ในด้าน


                  ภูมิศาสตร์ ไทยกับพม่ามีความใกล้ชิดกันมาก ไทยมีพื้นที่ติดต่อกับรัฐฉาน รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ

                  และมณฑลตะนาวศรี โดยติดกับ ๑๐  จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก

                  กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง มีพรมแดนร่วมกันยาว ๒,๔๐๑ กิโลเมตร


                         ปัจจุบันประเทศไทยมีการติดต่อกับพม่าได้หลากหลายช่องทางมากขึ้น ทั้งในระดับทวิภาคีเช่น


                  การติดต่อค้าขายตามแนวชายแดน มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับพื้นที่ คณะกรรมการทางการทหาร ใน

                  ระดับพหุภาคีไทยและพม่าต่างเป็นสมาชิกอาเซียน กลไกความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับพม่า

                  ประกอบด้วย







                  ๔  สํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ. “ถาม-ตอบ เจ้าหน้าที่ยูเอ็นเอชซีอาร์มีความหวัง หลังเยือนพม่าครั้ง
                  สําคัญ” http://unhcr.or.th/th/news/general/๘๔๖
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119