Page 113 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 113

๑๐๔
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                         นางฮิลลารี คลินตัน เผยหลังเข้าพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และรัฐมนตรีหลายคนที่กรุงเนปิดอว์


                  ของพม่าว่า ได้สนทนาอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ เธอแจ้งว่ารัฐบาลสหรัฐพร้อมสนับสนุนให้พม่า

                  ดําเนินการปฏิรูปต่อไป แต่ก็ขอให้พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองและยุติความขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อย

                  ความสัมพันธ์พม่ากับสหรัฐอเมริกาจะไม่มีทางดีขึ้นได้หากพม่ายังติดต่ออย่างผิดกฎหมายกับเกาหลีเหนือ

                  ที่มักทําให้เอเชียหวาดกลัวจากการดําเนินโครงการนิวเคลียร์



                         นางฮิลลารี คลินตัน กล่าวด้วยว่า รัฐบาลจะพิจารณาเรื่องส่งเอกอัครราชทูตกลับไปประจําที่พม่า

                  หลังจากลดระดับผู้แทนเหลือเพียงอุปทูต เนื่องจากพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างโหดร้าย

                  เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ และยกเลิกผลการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ ที่หลายฝ่ายชี้ว่าพรรคของนางออง ซาน ซู จี

                  แกนนําฝ่ายค้านเป็นฝ่ายชนะ การส่งเอกอัครราชทูตไปประจําพม่าจะเป็นช่องทางสําคัญในการแสดง

                  ความกังวล การเฝ้ าติดตามและสนับสนุนความคืบหน้าในพม่า อีกทั้งยังเป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ


                  กัน นอกจากนี้ สหรัฐยังจะสนับสนุนการส่งคณะเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

                  (IMF) ไปประเมินความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจให้พม่า การดําเนินโครงการความร่วมมือปราบปรามยา

                                                         ๓
                  เสพติดและดูแลสุขอนามัยของสหประชาชาติ

                         ผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑  เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕  พรรค NLD  ของนางอองซานซูจี


                  ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น โดยได้ที่นั่งจากการเลือกตั้งซ่อมในครั้งนี้ ๔๓  ที่นั่งจาก ๔๕  ที่นั่ง ทําให้

                  นางอองซานซูจีและผู้ได้รับการเลือกตั้งของพรรค NLD  ได้มีโอการสเข้าไปนั่งในสภาเป็นครั้งแรก ผลการ

                  เลือกตั้งครั้งนี้ ทําให้นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

                  ประกาศยกเลิกการควํ่าบาตรทางเศรษฐกิจ และอนุญาตให้นักลงทุนชาวอเมริกันไปลงทุนในประเทศเมียน

                  มาร์ได้ รวมทั้งจะแต่งตั้งเอกอัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาไปประจําในประเทศเมียนมาร์เป็นครั้งแรกใน


                  รอบกว่า ๒๐  ปี  จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทหารพม่าสามารถเดินทางไปสหรัฐอเมริกาได้

                  จะสนับสนุนให้ USAID  และองค์กรพัฒนาเอกชนอเมริกัน (NGOs) เข้าไปให้ความช่วยเหลือ และพัฒนา

                  ประเทศเมียนมาร์ได้ หลังจากนางฮิลลารี คลินตัน ประกาศดังกล่าว สหภาพยุโรปก็ประกาศว่าจะดําเนิน

                  นโยบายในลักษณะเดียวกับสหรัฐอเมริกา



                         ท่าทีของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปดังกล่าวจะทําให้ประเทศเมียนมาร์ ได้รับการสนับสนุน

                  จากประชาคมโลกมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองและการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศเมียน


                  ๓  สํานักข่าวไทย
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118