Page 112 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 112

๑๐๓
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  โดยบริษัทของรัฐบาลจีน ได้แก่ เขื่อนมิตซง บนต้นนํ้าอิระวดี  การสู้รบใกล้กับโครงการก่อสร้าง เขื่อนเดพา


                  ยินเกิดขึ้นหลังจาก KIO ได้ส่งสาส์นเตือนไปยังรัฐบาลจีนถึงสงครามกลางเมือง ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการ

                  ก่อสร้างเขื่อนมิตซง ซึ่งการเรียกร้องให้ระงับโครงการดังกล่าวจากองค์กรต่าง ๆ หลายภาคส่วนกลับถูก

                  เพิกเฉย  ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดยักษ์ได้ส่งผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

                  อย่างมหาศาล ขณะที่ไฟฟ้ าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านและใช้ ในกองทัพ

                  นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างเขื่อนซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย ยังเป็นช่องทางการขยาย


                  กําลังไปยังพื้นที่ดังกล่าวได้อีกด้วย (www.burmariversnetwork.org)


                         ผู้ประสานงานองค์กรเครือข่ายแม่นํ้าพม่า (Burma Rivers Network) กล่าวว่า โครงการสร้างเขื่อน

                  ขนาดยักษ์ เหล่านี้มีแต่จะเพิ่มความขัดแย้งให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ประชาชนกลับไม่ได้รับ

                  ประโยชน์แต่อย่างใด



                  ๕.๓  ท่าทีของสหรัฐอเมริกาต่อสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาร์ในปัจจุบัน


                         ภายใต้การเปลี่ยนแปลงท่าทีของรัฐบาลของนายพลเต็งเส่ง ที่ต้องการพัฒนาประเทศไปสู่

                  ประชาธิปไตย ทําให้ประชาคมโลกมีแนวโน้มในการยอมรับประเทศเมียนมาร์มากขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน

                  พ.ศ. ๒๕๕๔   ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้ตัดสินใจส่งนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

                  การต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเดินทางไปยังพม่า  ด้วยเหตุผลว่าประเทศเมียนมาร์มีพัฒนาการที่ดีขึ้น


                  กําลังพยายามปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างเป็นขั้นตอน  รวมถึงการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง และผ่อน

                  ปรนการควบคุมสื่อ และในเดือนเดียวกันนั้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ก็ได้มีการประกาศให้ประเทศ

                  เมียนมาร์เป็นประธานอาเซียนในปี ๒๕๕๗ และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในปีนั้น


                         นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา จึงเดินทางเข้าไปเยือนพม่า เมื่อวันที่


                  ๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งนับเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา คนแรกที่เดินทางเยือนพม่าในรอบกว่า

                  ๕๐  ปี โดยได้มีโอกาสพบประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ที่กรุงเนปิดอว์  และได้หารือเป็นการส่วนตัวกับนางออง

                                        ๒
                  ซาน ซูจี ที่กรุงย่างกุ้ง ด้วย





                  ๒   นางอองซานซูจี เคยถูกควบคุมตัวอยู่นาน ๒๑ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ และได้รับการปล่อยตัวเมื่อ
                  พ.ศ. ๒๕๕๓
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117