Page 111 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 111

๑๐๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  Liberation Front (KNPLF), Shan State Nationalities People’s Liberation Organization (SNPLO),


                  Kayinni National Progressive Party (KNPP) และ New Mon State Party (NMSP)


                         กองกําลังเหล่านี้ ยังคงจับจ้องดูท่าทีของรัฐบาลทหารพม่า ปัญหาของพม่าในปัจจุบันจึงเป็น

                  ปัญหาการบูรณาการชาติเป็นปัญหาหลัก ซึ่งในระยะยาว สถานการณ์แบบเดิม คือการปกครองแบบรวม

                  ศูนย์โดยรัฐบาลทหาร การปราบปรามกองกําลังชนกลุ่มน้อยซึ่งปัจจุบันยังคงมีอยู่และต้องการประกาศ


                  อิสรภาพ ให้มีดินแดนของตนอยู่ในแผนที่ ยังมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ในอนาคต


                         นอกจากปัญหาการบูรณาการชาติแล้ว พม่ายังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศซึ่งโดย

                  ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือ พม่ามีอาณาเขตติดต่อกับจีนถึง ๒,๐๐๐  กว่ากิโลเมตร  ทําให้พม่าต้องให้

                  ความสําคัญในการดําเนินการทูตระดับทวิภาคีกับจีนผ่านทางมณฑลยูนาน โดยจีนได้เข้ามาช่วยพม่า


                  สร้างถนนและสะพานหลายแห่งตามแนวชายแดนพม่าเพื่ออํานวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า เช่น

                  การปรับปรุงถนนพม่าเชื่อมระหว่างมัณฑะเลย์ไปยังเมืองต่าง ๆ   ในรัฐฉาน เช่นลา

                  เฉียว (Lashio) และมูเซ (Muse),  สะพานข้ามแม่นํ้าฉ่วยลี่ (Shweli)  ๒ แห่งเชื่อมเมืองชายแดนพม่าและ

                  จีน คือ เมืองมูเซของพม่ากับเมืองหวันติ้ง (Wanting) และหยุยลี่ (Ruili) ของจีนในปี ๑๙๙๒  สะพานเชื่อม

                  หว่านติ้งกับจูกุ๊ก (Kyukok) ของพม่าในปี ๑๙๙๓



                         นอกจากนี้จีนยังมีโครงการสร้างเขื่อนใน พม่าอีกหลายแห่งซึ่งเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดความ

                  ขัดแย้งรุนแรง  ผู้ประสานงานองค์กรเครือข่ายแม่นํ้าพม่า (Burma Rivers Network) ให้ข้อมูลว่า การสู้รบ

                  ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่ นานมานี้ใกล้กับจุดสร้างเขื่อนเดพายินและเขื่อนฉ่วยหลี่ ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ

                  เมียนมาร์ชี้ให้เห็นว่า การเสริมกําลังของกองทัพพม่าเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับโครงการก่อ สร้าง


                  เขื่อนของรัฐบาลจีนนั้น จะยิ่งทําให้สถานการณ์ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น การปะทะกันระหว่างกอง

                  กําลังทหารพม่าและ กองกําลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independence Organization - KIO)บริเวณจุด

                  สร้างเขื่อนเดพายิน ๑ และ เดพายิน ๒ ที่ดําเนินการโดยบริษัท Datang ของรัฐบาลจีน เป็นการละเมิด

                  สนธิสัญญาหยุดยิงที่ทําไว้เมื่อ ๑๗ ปีก่อนลงอย่างสิ้นเชิง การสู้รบครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจํานวนมาก

                  ขณะที่ประชาชนว่า ๒,๐๐๐ คนต้องอพยพหนีตาย ไปยังชายแดนจีน กองทัพพม่าได้ส่งทหารหลายร้อย


                  นายเข้า ไปประจําการเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่โครงการสร้างเขื่อนเดพายิน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับฐานทัพ

                  ของ KIO   การสู้รบได้ขยายวงกว้าง มีการปะทะกันหลายครั้งใกล้กับเขื่อน ฉ่วยหลี่ ๑ ทาง ตอนเหนือของ

                  รัฐฉานด้วยเช่นกัน  ในรัฐคะฉิ่นเพียงแห่งเดียวมีแผนการ ก่อสร้างเขื่อนขนาดยักษ์ถึง ๙ แห่งที่ดําเนินการ
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116