Page 110 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 110
๑๐๑
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
จะเป็นเรื่องความสนใจของภาคประชาสังคม การใช้โอกาสในเรื่องของมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
โครงการพัฒนาต่าง ๆ และการลงทุนของต่างประเทศที่จะเข้าไปในพม่ามากขึ้น”
“อยากจะเรียกร้ององค์กรระหว่างประเทศ หรือว่าใครก็ตามที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูปพม่า
ให้คงยึดหลักไม่ทําอะไรที่ทําให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน และอยากให้เน้นเรื่องการสร้างความเข้มแข็ง
กับภาคประชาสังคม และชุมชน รวมทั้งในพม่า และที่ยังทํางานอยู่นอกประเทศ ก็จะเป็นส่วนช่วยอย่าง
มากในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมการปฏิรูป สําหรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
จะทําอย่างไรให้เกิดการเจรจาที่เท่าเทียมและมีความหมายทางการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะเรื่องนี้
เป็นพื้นฐานของความขัดแย้ง ถ้าไม่มีการพูดคุยในเรื่องทางการเมือง ก็จะไม่ก่อให้เกิดเสรีภาพที่ยั่งยืนได้
เพราะถ้าการพูดคุยในระดับของกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐบาลทหารพม่าเป็นเพียงแค่โครงการพัฒนา การแก้ไข
ปัญหารากลึกของความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น”
นางทาร์ ซอ ตวน กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ภาพการเจรจา และยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมัน
ไม่ได้นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ผู้คนก็ต้องตกอยู่ในภาวะที่หลบหนี และอาจเป็นภาระ
ของประเทศไทยในการรองรับให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้ และขอขอบคุณประเทศไทย หน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่เปิดโอกาสให้มาอยู่อาศัย และพยายามทํางานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
ในประเทศเมียนมาร์อย่างจริงจังในเรื่องการนําสันติสุขมาสู่ประเทศเมียนมาร์ และสิ่งที่สามารถทําได้ก็ต้อง
เกิดขึ้นจากความใจดี การเปิดโอกาส และความช่วยเหลือก็ยังต้องการอยู่ หวังว่าจะมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นไป
ด้วยกัน และยินดีที่ได้มีการพูดคุยกันเรื่องคุ้มครองผู้ลี้ภัยสงคราม ขอเรียนว่ายังไม่น่าจะมีเรื่องนโยบายการ
ส่งกลับที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด และอยากเห็นภาพความช่วยเหลือจากประเทศยังคงอยู่
๕.๒ สถานการณ์การสู้รบและความขัดแย้งที่ยังด ารงอยู่ในเมียนมาร์
จากการจัดสนทนากลุ่มผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ที่อําเภอแม่สอด ให้ข้อมูลว่า
ภายในพม่ายังคงมีกองกําลังอยู่ถึง ๑๒ กองกําลัง ได้แก่ Mynmar National Democracy Alliance
(MNDA), Mynmar National Solidarity Party (MNSP), National Democracy Alliance Army (NDAA),
Shan State Army (SSA), New Democratic Army (Kachin:NDA), Kachine Defence Army (KDA),
Pa-O National Organization (PNO), Kayan New Land Party (KNLP), Kayinni’s National People’s