Page 109 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 109

๑๐๐
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                         เรื่องของการที่นางออง ซาน ซูจี ลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็เห็นว่า เป็นลักษณะของการยอมที่จะเสี่ยง


                  สําหรับการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้    ซึ่งพวกเราก็เฝ้ าและติดตามอย่างมีความหวังว่าการเลือกตั้งจะนําไปสู่การ

                  เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี ๒๕๕๘  ด้วย


                         อย่างไรก็ตามภาพที่เกิดขึ้นจากการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๑  และการเลือกตั้งเมื่อ

                  พ.ศ. ๒๕๕๓  ก็ทําให้อดห่วงไม่ได้ว่าบทบาทของทหารยังมีในเรื่องของการเมืองสูง มีข้อสังเกตเรื่องของ


                  อํานาจ หรือการจัดสรรอํานาจ คือ อาจจะไม่มีการรวมศูนย์ และเรื่องการหยุดยิงที่คะฉิ่น ก็มีคําสั่งให้หยุด

                  ยิงแต่จริง ๆ แล้วก็สั่งไม่ได้ และก็เป็นคําถามที่ทุกคนก็ถามอยู่ว่า “การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการนํา

                  โดยทหารมันจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างจริง ๆ จัง ๆ ในเรื่องของความเป็นอยู่ และความปลอดภัย

                  ของประชาชน รวมทั้งเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานจริงหรือไม่ ? ”



                         “จริง ๆ แล้วก็มองเห็นว่ารัฐบาลที่นําโดยพายพลเต็งเส่ง  ต้องการปฏิรูปให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

                  อย่างจริงจัง แต่ว่าโครงสร  างทําให้เขาไม่สามารถทําได้ ไม่มีปัจจัยหนุนเสริมอย่างเพียงพอที่จะทําให้เกิด

                  การปฏิรูปอย่างแท้จริง และยังไม่เห็นรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชน ยังเป็นการนําโดยทหารอยู่

                  จากการประเมิน ยังไม่เห็นความจริงใจ และผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน แม้ว่าจะมีการเผยแพร่

                  มาตลอดว่า นางออง ซาน ซูจี กับนายพลเต็งเส่ง ได้มีการเจรจาพูดคุยกันมาโดยตลอด แต่เนื้อหาการ


                  เจรจา หรือแนวโน้มว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นไม่ได้ถูกเผยแพร่ ทําให้ผู้ที่เฝ้ าติดตามไม่มีความเชื่อมั่นว่าการเจรจา

                  เหล่านั้นจะนําไปสู่อะไร”


                         “สิ่งที่จะต้องทํา คือ การสร้างความเข้มแข็งกับประชาชนในประเทศเมียนมาร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัด

                  กลุ่ม รวมกลุ่มให้เป็นภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง และรณรงค์ในเรื่องการยุติสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศ


                  รวมทั้งการสร้างสัมพันธภาพให้เกิดขึ้น ก็ยอมรับว่าอาจจะมีบทบาทภาคประชาสังคมนอกสภาด้วย

                  โอกาสที่อาจเกิดขึ้นก็คือลักษณะของการทํางานร่วมกันกับภาคประชาสังคม หรือองค์กรชุมชนทั้งใน

                  ประเทศ หรือที่อยู่นอกประเทศที่สามารถร่วมมือเพื่อสร้างการเคลื่อนไหว และเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

                  อย่างไร”



                         “แม้ว่าจะไม่มีการปฏิรูปอย่างจริง ๆ จัง ๆ หรือเป็นการปฏิรูปโดยเฉพาะของคนชั้นสูง หรืออาจจะ

                  มีลักษณะของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ แต่ว่าก็อยากจะใช้โอกาสตรงนี้ในการพยายามที่ทําให้เกิดการ

                  ยอมรับ และนํามาเป็นโอกาสเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจริงได้ ประเด็นต่าง ๆ ที่นายพลเต็งเส่ง

                  พยายามจะเร่งอยู่ เราก็ควรที่จะเข้าไปด้วยเพื่อที่จะทําให้เกิด win : win หรือทางออกที่ได้ทั้ง ๒ ส่วน ไม่ว่า
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114