Page 108 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 108
๙๙
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
อีกมุมหนึ่ง คือ การแสวงหาความพยายามร่วมมือจากองค์กร หรือประชาสังคมระหว่างประเทศ
และการพูดคุยเปิดเผยว่าให้กลุ่มคนที่อพยพอยู่นอกประเทศกลับประเทศด้วย จึงมีความเห็นเช่นเดียวกับ
ดร. จตุรงค์ ว่า จะต้องเฝ้ าดูอย่างระมัดระวัง และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ว่าจะนําไปสู่หนทางที่
เป็นไปในทางบวก หรือเป็นไปในลักษณะที่ต้องการจะแสดงให้องค์กรระหว่างประเทศ หรือส่วนต่าง ๆ ที่
สนใจประเทศเมียนมาร์พอใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การปล่อยตัวนางอองซานซูจี ช่วงหลังเลือกตั้งใหม่ ๆ อาจจะเป็นลักษณะของการพยายาม
เบี่ยงเบนความสนใจการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม หรือการทุจริตเลือกตั้ง รวมทั้งการเรียกร้องให้ไม่สร้างเขื่อน
ก็เกิดการตอบสนองจากรัฐบาลจนทําให้รู้สึกว่าเป็นเหมือนการป้ องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์การประท้วง
ของภาคประชาชน
ในขณะเดียวกันก็มีลักษณะของการสื่อสารกับสาธารณะที่ชื่นชมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน
พม่า เช่น ในระดับอาเซียน การปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังมีอีก ๖๐๐ กว่าคนที่ยังถูก
จับกุม การเจรจาหยุดยิงของกลุ่มต่าง ๆ ก็ยังมีปัญหาอยู่ การหยุดยิงจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เช่น กลุ่ม
คะฉิ่นก็ยังคงมีการสู้รบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ การเจรจาหยุดยิงก็ไม่ค่อยชัดเจนว่าบทบาทของใครจะเป็น
บทบาทหลักในการเจรจา จึงไม่เกิดความเข้าใจ ลักษณะการจัดทีมเจรจาน่าจะเป็นปัญหาว่ามีหลายกลุ่ม
เพราะไม่ได้เจรจากับกลุ่มเดียวที่มีความขัดแย้ง ต้องเจรจากับหลายกลุ่ม เจรจากับตัวบุคคลด้วย จึงเกิด
ความสับสน และทําให้เกิดความรู้สึกว่าไม่จริงใจ ไม่จริงจังในเรื่องของความตั้งใจที่จะหยุดยิง
โดยลักษณะของการเข้าไปพูดคุยก็เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด จึงทําให้กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่จะต้อง
เข้ามาร่วมการเจรจาไม่มีการเตรียมความพร้อม และไม่มีการระดมความคิดเห็นภายในกลุ่ม เนื้อหาที่
สําคัญของการเจรจาหยุดยิงของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ได้มุ่งประสงค์ทางด้านการเมือง แต่เป็นเรื่องการ
พัฒนาในพื้นที่นั้น ๆ ที่อาจจะมีโครงการพัฒนาเข้าไป ทําให้เห็นว่าเขาอาจไม่มีความจริงใจที่จะยอมรับ
สถานะของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ
ลักษณะเสรีภาพของสื่อยังเป็นลักษณะของการเปิด ๆ ปิด ๆ คือ อนุญาตให้ทําอะไรก็ได้ และเดี๋ยว
ก็สั่งควบคุมอีก ทําให้สื่อมวลชนไม่มีความมั่นใจว่าเขาจะสามารถสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมีเสรีภาพ
ได้มากน้อยเพียงใด และก็ยังมีลักษณะของการไม่กล้าเข้าไปสัมภาษณ์ หรือขอความคิดเห็นจากผู้ที่มี
ความเห็นต่างจากรัฐบาล