Page 107 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 107
๙๘
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
“ในแง่ความพร้อมของประชาชนก็คงไม่พร้อม ดังนั้นจากนี้ไป การเมืองเพื่อประชาธิปไตยในพม่า
ที่ต้องเจอคือ ประชาชนว่า จะเข้าใจการเลือกตั้งอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลทหารพม่าไม่ได้ทําให้ประชาชน
ของเขาเข้าใจ ตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ ถ้าประชาชนอยากอ่านประชาชนต้องซื้อ เขา
ไม่แจกให้ฟรี ๆ เหมือนประเทศไทย ทั้งกฎหมายเลือกตั้งก็ไม่ทําให้ประชาชนเข้าใจ มันจึงเหมือนรัฐบาล
เอาเปรียบ”
“ภารกิจเร่งด่วนในตอนนี้อย่างแรก คือ ต้องให้สิทธิประชาชน นอกจากนั้นนักโทษการเมืองที่ถูก
ขุมขังทั้งหมดต้องปล่อยออกมา เพราะว่ารัฐบาลใช้กฎหมายรุนแรงและไม่ยุติธรรม รวมทั้งกฎหมายเหล่านี้
ก็ต้องยกเลิกเพราะปิดกั้นเสรีภาพประชาชน ยิ่งกว่านั้น การจัดการด้านเศรษฐกิจเองก็ยังไม่ยุติธรรม
คนรวยที่มีอํานาจและมีความใกล้ชิดผู้นําจะมีสิทธิมากกว่าคนอื่น ๆ ทําให้สังคมยังไม่มีความยุติธรรม
คอรัปชั่นมีสูงมาก หูตาประชาชนก็ถูกปิดกั้นเพราะสื่อถูกควบคุม อีกทั้ง เมื่อรัฐบาลวิตกกับความมั่นคง
ภายในก็ไม่มีเวลามาบริหารประเทศให้ประชาชนอิ่มท้อง มีกิน แต่ตอนนี้ประชาชนเริ่มเข้าใจมากขึ้นจึงไม่
ค่อยพอใจและเริ่มเรียกร้องมากขึ้น ทําให้รัฐบาลยิ่งกลัวประชาชนลุกฮือประท้วงเหมือนปี ๑๙๘๘ อีก
โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ ๒๐๐๘ ซึ่งมีหลายมาตราที่น่ากลัวมาก เช่น ทหารที่ทําผิดไม่ต้องขึ้นศาล หรือ ผบ.
สูงสุดมีสิทธิยึดอํานาจได้ถ้าเชื่อได้ว่าไม่สามารถดูแลความเรียบร้อยได้ มีหลายมาตรามากที่มีปัญหา แต่
บางข้อก็ดี ดังนั้นเบื้องต้น เราต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน อีกทั้ง
บนแนวทางนี้ เราเชื่อว่าการเจรจาคือแนวทางที่ถูกต้อง แต่การเจรจานั้นต้องเท่าเทียมยุติธรรมต่อกัน
เพราะเรามีชนกลุ่มน้อยอยู่เป็นจํานวนมาก คนเหล่านี้ต้องมีสิทธิเท่าเทียมกัน”
นางทาร์ ซอ ตวน (Tar Shaw Thuan)จากองค์การสันนิบาตสตรีพม่า แสดงทัศนะของตนต่อ
สถานการณ์ทางการเมืองในพม่า สรุปได้ ว่า หลังจากนางออง ซาน ซูจี ได้รับการปล่อยตัว ก็ได้มีการ
พูดคุยกันกับรัฐบาลทหาร หลังจากนั้นก็เป็นการจัดตั้งรัฐบาลที่มีนายพลเต็ง เส่ง เป็นประธานาธิบดี และ
รัฐบาลก็ได้มีการพยายามเจรจาให้มีการหยุดยิงกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ติดอาวุธ และพยายามที่จะให้
การรวมกลุ่มกองกําลังรักษาชายแดน ความเคลื่อนไหวอีกส่วนหนึ่งก็คือ ความพยายามในการเปิดโอกาส
ให้ทางนักวิชาการต่าง ๆ ในประเทศร่วมปฏิรูประบบเศรษฐกิจ และเห็นได้ชัดเจนว่าในการนําเสนอข่าว
ของสื่อมวลชนในประเทศเมียนมาร์มีเสรีภาพมากขึ้น เช่น ภาพถ่ายการประชุม การพูดคุย หรือการ
เดินทางของออง ซาน ซูจี ก็ถูกเผยแพร่ในสื่อของประเทศเมียนมาร์ด้วย