Page 104 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 104

๙๕
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  นอกจากนี้ ชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มที่ยุบพรรคก็ยังไม่ตัดสินใจจดทะเบียนพรรคการเมืองในขณะนี้


                  เนื่องจากมีข้อเสนอว่า ต้องปล่อยผู้นําชนกลุ่มน้อย และนักโทษทางการเมืองคนอื่น ๆ เสียก่อน เพื่อคืน

                  บรรยากาศประชาธิปไตย โดยเฉพาะผู้นําพรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย (Shan

                  Nationalities League for Democracy -SNLD) จึงเป็นช่วงที่นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่ากําลังจ้อง

                  จับตาดูว่า พม่าจะพัฒนาไปในทางใด



                         นายเมียน เวย์ (Myint  Wai)  รองผู้อํานวยการ  Thai  Action  Committee  for  Democracy  in

                  Burma : TACDB  วิเคราะห์บทบาทพรรค NLD ว่า เหตุผลของ NLD ซึ่งนําโดย นาง อองซานซูจี ที่กําลัง

                  เข้าสู่การเลือกตั้งนั้น ก็เพราะต้องการสู้ในระบอบประชาธิปไตยและเพื่อเข้าไปแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ

                  ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ทําให้บางกลุ่มไม่เห็นด้วยและอยากได้มติประชาชนที่ NLD เคย

                  ชนะเมื่อปี ๑๙๙๐ นั้นคืนมา  ทําให้สมาชิกพรรค NLD บางส่วนไม่เข้าร่วมกิจกรรมการเลือกตั้ง นายเมียน


                  เวย์กล่าวถึงปัญหาสําคัญที่ประชาชนและสมาชิกพรรค NLD ขัดข้องใจ คือ รัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ.๒๐๐๘ ที่

                  อนุญาตให้ทหารสามารถปฏิวัติได้ ซึ่งอันตรายมาก  การปฏิวัติรัฐประหารสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าทหารเกิด

                  ความไม่พอใจ  นายเมียน เวย์  เห็นว่า การก้าวไปเพื่อให้ถึงประชาธิปไตยคงไม่ใช่เรื่องง่าย


                         “ตอนนี้รัฐบาลทหารพม่ายอมคุยกับพรรค NLD แล้ว และยอมเจรจากับกองทัพ KNU และ DKBA


                  รวมถึง กองทัพไทยใหญ่ (SSA)  ซึ่งเป็นการเจรจาตรงกับรัฐบาลพลัดถิ่น แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นทหารเก่า ๆ

                  ไม่ใช่ประชาชนอย่างแท้จริง เพราะประชาชนยังไม่ได้กําหนดอนาคตตัวเอง แต่ตอนนี้ในความเป็นจริงคือ

                  กลุ่มชนเผ่าแทบทุกเผ่ามีรัฐบาลเป็นของตัวเองแล้ว ขาดแต่รัฐบาลกลางที่ยอมรับรัฐของชนเผ่า ซึ่งรัฐบาล

                  ทหารพม่าที่มีอยู่ในปัจจุบันเน้นนโยบายควบคุมชนเผ่า ทําให้สิทธิประชาชนมีไม่เท่ากัน ตอนนี้หลายเผ่าไม่

                  ต้องการแยกตัวออก แต่เขาอยากได้สิทธิที่เท่ากัน ภายใต้กฎหมายเดียวกัน รัฐธรรมนูญเดียวกัน มีอํานาจ


                  กําหนดกฎหมายมาปกครองตนเองได้ มีสภาของตัวเอง อยากให้แต่ละรัฐมีผู้แทนรัฐละหนึ่งคนไปมีอํานาจ

                  หรือกําหนดทิศทางของประเทศ ทั้งหมด ๘ รัฐ ก็ ๘ คน แต่ในความเป็นจริงตอนนี้ มีแต่ผู้แทนจากพม่ามาก

                  ที่สุด คือรัฐเดียว ๗  คน นอกนั้น เผ่าละคน เขาเลยได้รับความไม่เท่าเทียม ซึ่งก็คือปัญหาที่พรรค NLDไม่

                  ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้”



                          “สิ่งที่ต้องการอีกประการหนึ่งคือ การลดอํานาจทหารลง และไม่มีสิทธิยึดอํานาจรัฐ ดังนั้น การที่

                  พรรค NLD อยากเข้าไปอยู่ในสภา ทั้ง ๆ ประชาชนไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะยังไม่ให้สิทธิที่เท่า
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109