Page 103 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 103

๙๔
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ซึ่งประเด็นสําคัญคือผู้พลัดถิ่นบริเวณชายแดนไทย-พม่า โดย


                  สํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้ประเมินว่าภาคเหนือของรัฐคะขิ่นที่เป็นที่พักพิงของ

                  ชาวมุสลิมที่ไม่มีสัญชาติจํานวน ๗๕๐,๐๐๐ คน


                         อย่างไรก็ตาม โดยภาพรวม อาจกล่าวได้ว่า สถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-พม่าในปัจจุบัน

                  (เมษายน ๒๕๕๕) เปลี่ยนแปลงไปจาก พ.ศ. ๒๕๕๓  มาก  กล่าวคือ การสู้รบภายในพม่าตามบริเวณ


                  ชายแดนสงบลง  รัฐบาลทหารพม่าทําข้อตกลงหยุดยิงกับกองกําลังชนกลุ่มน้อย และประกาศว่า กอง

                  กําลังติดอาวุธชนกลุ่มน้อยซึ่งเคยต่อต้านพม่าได้หันมาร่วมพัฒนาชาติโดยการวางอาวุธแล้ว   การปล่อย

                  นักโทษการเมืองจํานวนหนึ่งออกมาสู่อิสรภาพ  รวมทั้งการทําสัญญายุติการสู้รบกับกองกําลังของชนกลุ่ม

                  น้อยบางกลุ่ม  นอกจากนี้  รัฐบาลจัดให้มีการเลือกตั้งซ่อม โดยยอมให้นางอองซานซูจี จัดตั้งพรรค

                  การเมือง ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ซึ่งผลการเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  ในด้านเศรษฐกิจ  เมือง


                  เมียวดี ถูกกําหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เมื่อวันที่ ๒๔  ธันวาคม ๒๕๕๔    เมืองทะวายกําลังมีการ

                  พัฒนาเศรษฐกิจอย่างคึกคัก  โดยบริษัท อิตัลไทย เข้าไปลงทุน phrase แรก ๒.๔ แสนล้านบาท


                         สถานการณ์ดังกล่าว ในสายตาขององค์การของชาวพม่าที่ลี้ภัยสงครามออกมาตั้งถิ่นฐานอยู่นอก

                  ประเทศเห็นว่า การทําข้อตกลงหยุดยิงระหว่างทหารพม่ากับกองกําลังของชนกลุ่มน้อย เป็นเพียง


                  สถานการณ์ชั่วคราว เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าชุดปัจจุบันต้องการสร้างภาพให้นานาชาติเห็นว่า พม่ามี

                  ความสงบดีแล้ว  เพราะในอีก ๒ ปีข้างหน้า พม่าจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ และจะต้องเป็น

                  ประธานอาเซียน  ซึ่งดูเหมือนพม่ากําลังทําทุกวิถีทางที่จะให้ได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศมาก

                  ขึ้น แต่ในความเป็นจริง แหล่งข้อมูลภายในประเทศเมียนมาร์ ระบุว่า ยังคงมีนักโทษการเมืองอีกจํานวน

                  มากที่ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว  อีกทั้งยังคงมีการสู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองกําลังเอกราชคะ


                  ฉิ่น (Kachin Independence Organization - KIO)  ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบเรื่องการย้ายถิ่นฐาน การไร้ที่

                  อยู่ของประชาชน   การฆาตกรรม   การเกณฑ์แรงงาน   แหล่งข้อมูลภายในพม่ายืนยันว่า ยังคงมีการ

                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงโดยเฉพาะการเกณฑ์ชนกลุ่มน้อยเพื่อใช้แรงงานในการก่อสร้างสาธารณูปโภคใน

                  พื้นที่ ฉาน คะหยิ่น  และคะยา รวมถึงเป็นแรงงานในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทางทหารในเขตรัฐมอญ และ

                  คะฉิ่น
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108