Page 102 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 102
๙๓
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
กะเหรี่ยงพุทธได้มีการสู้รบกับทหารพม่าหลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
การปะทะกันบริเวณชายแดนส่งผลทําให้มีผู้คนจากฝั่งพม่ากว่า ๒๕,๐๐๐ คน อพยพลี้ภัยเข้ามาใน
ประเทศไทย ทหารกองกําลังกะเหรี่ยงพุทธส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงดินแดนบริเวณดังกล่าวให้
เป็นดินแดนภายใต้การควบคุมของกองทัพพม่าและยุติการสู้รบที่ยืดเยื้อมากว่า ๑๖ ปี
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เกิดการสู้รบระหว่างกองกําลังอิสระคะฉิ่น (KIA) และกองกําลัง
พม่าในบริเวณภาคเหนือของประเทศเมียนมาร์ใกล้กับชายแดนประเทศจีน ซึ่งเป็นการยุติสัญญาหยุดยิงที่
เคยทําขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และมีรายงานการล่วงละเมิดทางเพศต่อประชาชน โดยมีผู้หญิงและเด็ก
มากกว่า ๓๕ คนถูกข่มขืนในช่วงเวลาเพียงสองเดือนแรกของการสู้รบ และการสู้รบทําให้ประชาชนกว่า
๓๐,๐๐๐ คนกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ
กองทัพพม่าในรัฐคะฉิ่นได้บังคับนักโทษให้ทํางานขนของในบริเวณเขตที่มีการสู้รบ นักโทษ
จํานวนหลายร้อยคนได้ถูกนําตัวมาจากเรือนจําและค่ายทํางานของนักโทษและถูกส่งไปยังหน่วยซึ่งอยู่
แนวหน้า ถูกบังคับให้เครื่องมือทางทหารและสัมภาระต่าง ๆ และหลายครั้งคนกลุ่มนี้ถูกใช้เป็นโล่มนุษย์
เพื่อเป็นเป้ ากันการโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามและเคลียร์พื้นที่จากระเบิดสังหารบุคคล
จะเห็นได้ว่า กองทัพพม่ายังคงมีการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
โดยการใช้ระเบิดสังหารบุคคล บังคับใช้แรงงาน การทรมาน ทุบตี และการปล้นสะดมทรัพย์สิน การล่วง
ละเมิดทางเพศยังคงเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง โดยเหยื่อส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กองทัพพม่า
ยังคงเกณฑ์เด็กเข้าร่วมในกองทัพ แม้ว่ารัฐบาลทหารพม่าจะได้ร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ในการปลดประจําการทหารที่เป็นเด็กก็ตาม
๑
จากการสํารวจของ Human Rights Watch ในปี ๒๕๕๔ จึงพบว่าสถานการณ์ด้านการคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนของประเทศเมียนมาร์ยังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก ประชาชนยังคงถูกจํากัดเสรีภาพในการ
แสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และการรวมกลุ่ม แม้ว่าจะมีการผ่อนปรนการจํากัดสื่อมากขึ้น
สําหรับสถานการณ์ด้านผู้ลี้ภัยนั้น ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ เอริกา เฟลเลอร์ เจ้าหน้าที่ด้านการ
คุ้มครองระดับสูงสุดในหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ได้เดินทางเยือนประเทศเมียนมาร์ครั้ง
สําคัญ โดยสํานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้มีมีโครงการในรัฐระขิ่นทางตะวันตก และ
๑ Human Rights Watch. “World Report ๒๐๑๑: Burma”. http://www.hrw.org/world-report-๒๐๑๑/burma