Page 99 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 99

๙๐
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                         นอกจากนี้ ยังมีการประสานความร่วมมือกับองค์กรซึ่งมีเครือข่ายกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ เพื่อ

                  ท าหน้าที่เพิ่มเติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ท าให้องค์กรอื่น ๆ สามารถระบุ


                  ต าแหน่งที่อยู่ของผู้ลี้ภัยได้ถูกต้องแม่นย าขึ้น และสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยได้ดียิ่งขึ้น


                  ขั้นตอนที่ ๒ การปรับฐานข้อมูลให้ตอบสนองความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



                         โดยขั้นตอนนี้ผู้พัฒนาโปรแกรมจะต้องท างานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูล เพื่อ

                  สร้างโปรแกรมให้เหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด มีการทดลองใช้ฐานข้อมูล ประเมินการใช้งาน และ

                  น าข้อมูลกับมาพัฒนาโปรแกรมต่อไป


                         จัดการอบรมวิธีการใช้ฐานข้อมูลแก่บุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดการหาอุปกรณ์


                  คอมพิวเตอร์ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ โดยแนวคิดหลักคือ การใช้งานคอมพิวเตอร์พกพา และเทคโนโลยีจาน

                  ดาวเทียมในการเข้าถึงข้อมูล และใส่ข้อมูลในระบบที่อยู่ห่างไกลได้ ซึ่งจะท าให้หน่วยงานที่ให้ความ

                  ช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยสามารถสามารถเก็บรวมรวมข้อมูล และเพิ่มเติมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้าน พื้นที่ที่จะ

                  มีการจัดส่งผู้ลี้ภัย และยังจัดให้มีเครื่องมือที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลที่ส าคัญแก่ผู้ลี้ภัยและครอบครัวซึ่งก าลัง

                  เดินทางหรืออยู่ระหว่างการตัดสินใจเดินทางกลับบ้านของตน



                  ขั้นตอนที่ ๓ การปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูล


                         ขั้นตอนนี้จะต้องใช้ข้อมูลที่ได้รับจากขั้นตอนที่ ๒ มาปรับปรุงและพัฒนาฐานข้อมูลให้มี


                  ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เพิ่มเติมข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ของหน่วยงานต่าง ๆ


                         นอกจากนี้  การจัดท าฐานข้อมูลกลางร่วมกันแล้ว หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ลี้ภัย

                  ยังสามารถร่วมกันสร้างศักยภาพ บุคลากรมีความเชี่ยวชาญผ่านการจัดอบรมโดยใช้ความรู้ความ

                  เชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน เพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยที่ดีขึ้นอีกด้วย



                         ระบบการประสานงานทั้งการตั้งศูนย์ประสานงานกลางระหว่างหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้อง

                  กับผู้ลี้ภัย และการจัดท าฐานข้อมูล จะน าไปสู่การวิเคราะห์ ความเข้าใจสภาพปัญหาและการจัดการ

                  ผู้ลี้ภัย ท าให้ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการผู้ลี้ภัย และให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ลี้ภัยได้ดี

                  และมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104