Page 101 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 101

๙๒
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”


                  ถึงการขัดกันทางทหารภายในประเทศเมียนมาร์ด้วย แต่ก็ไม่มีประเทศใดจะเป็นผู้นําในการทําให้การก่อตั้ง


                  คณะกรรมการดังกล่าวเป็นความจริงขึ้น


                         สถานการณ์ทางการเมืองของพม่ายังคงดําเนินไปตามวิถีทางที่รัฐบาลทหารพม่าต้องการ โดยใน

                  วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC)  ได้ประกาศวันจัดการเลือกตั้ง

                  ทั่วไปของประเทศเมียนมาร์ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ ๒๐ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


                  ซึ่งได้รับการประกาศใช้ตามผลการลงประชามติเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๑ โดยการเลือกตั้ง

                  ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสหภาพเอกภาพและ

                  การพัฒนา (USDP) ได้รับชัยชนะ โดยพรรคฝ่ายค้านอย่างน้อย ๒ พรรคประกาศยอมรับผลการเลือกตั้ง


                         ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔   รัฐสภาพม่าได้เปิดประชุมครั้งแรกที่กรุงเนย์ปิดอร์ เพื่อเริ่ม


                  กระบวนการเลือกผู้นําประเทศชุดใหม่ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐสภาของ

                  พม่าได้ลงมติแต่งตั้งพลเอก เต็ง เส่ง  (Thein Sein) เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐสหภาพพม่า ด้วย

                  คะแนนเสียง ๔๐๘ คะแนนจากทั้งหมด ๖๕๙ คะแนน สําหรับรองประธานาธิบดีอีก ๒ คนได้แก่ พลโท ทิน

                  อ่อง มินต์ อู (Tin Aung Myint Oo) เลขาธิการคนที่ ๑ ของ State Peace and Development Council

                  อดีตรัฐมนตรีกลาโหม   อดีตนายพลระดับสูงและพันธมิตรของพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นําสูงสุดพม่า


                  และ ดร.ไซ มอค ขาม   (Sai  Mauk  Kham)  นายแพทย์และหัวหน้าพรรคการเมืองชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน

                  หนึ่งในพรรคสนับสนุนฝ่ายรัฐบาล หลังจากการเลือกตั้ง รัฐบาลทหารพม่าพลเรือนของประเทศเมียนมาร์

                  ได้พยายามส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมโลกอย่างต่อเนื่อง


                         ในวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔ รัฐบาลทหารพม่าได้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น


                  ประกอบด้วย อดีตเอกอัครราชทูต นักวิชาการ และข้าราชการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นมา

                  นางออง ซาน ซู จี ได้รับอนุญาตให้เดินทางให้เดินทางพบปะกับผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อ

                  ประชาธิปไตย (NLD) แม้ว่าในขณะนั้นพรรคดังกล่าวยังไม่ถูกต้องตามกฎหมายเลือกตั้ง นางอองซานซูจี

                  ได้เดินทางไปยังกรุงเนย์ปิดอร์ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ เพื่อพบกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง



                         ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้ประกาศ

                  ว่าจะจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง และตั้งใจว่าจะลงแข่งขันในการเลือกตั้งในเดือนเมษายน พ.ศ.

                  ๒๕๕๕ ขณะเดียวกัน การสู้รบระหว่างทหารพม่าและกองกําลังชนกลุ่มน้อยขยายวงกว้างขึ้นในปี ๒๕๕๔

                  เนื่องจากการเจรจาหยุดยิงยังไม่เป็นที่ยุติ ในรัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันออกของประเทศเมียนมาร์กองกําลัง
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106