Page 100 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 100
บทที่ ๕
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของเมียนมาร์
และข้อเสนอแนะต่อท่าทีที่เหมาะสมของประเทศไทย
เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในระดับนานาชาติว่า การเมืองในประเทศเมียนมาร์กําลังอยู่ในช่วงการ
เปลี่ยนแปลง ด้วยการมีนโยบายเปิดประเทศมากขึ้น มีการเจรจาหยุดยิงกับกองกําลังของชนกลุ่มน้อย
มีการจัดการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งทําให้นางอองซาน ซูจี ได้มีโอกาสเข้าไปนั่งในสภาผู้แทนราษฎรในฐานะ
ฝ่ายค้าน จนกระทั่งทําให้สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เริ่มมีท่าทีที่ดีขึ้นต่อประเทศเมียนมาร์ ประเด็นที่
น่าสนใจคือ ประเทศเมียนมาร์จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือไม่ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นใน
ขณะนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวหรือภาพลวงตาเท่านั้น ในบทนี้จึงจะกล่าวถึงสถานการณ์ทางการ
เมืองของพม่าในปัจจุบันในทัศนะของผู้ลี้ภัยชาวพม่า และท่าทีที่เหมาะสมของประเทศไทย
๕.๑ ทัศนะของผู้ลี้ภัยชาวพม่าต่อสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมาร์ในปัจจุบัน
ปัญหาความขัดแย้งในประเทศเมียนมาร์ ระหว่างรัฐบาลทหารกับชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะ
เป็นชาวมอญ ไทยใหญ่ กะเหรี่ยง คะฉิ่น และชนกลุ่มอื่น ๆ เป็นปัญหาที่หมักหมมมานานหลายสิบปี
จนกลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ภายใต้ระบบเผด็จการทหารที่ครองอํานาจมาเกือบห้าสิบปี ไม่เพียงส่งผล
ให้ความขัดแย้งยืดเยื้อยาวนานเท่านั้น หากแต่ยังทําให้พลเมืองส่วนใหญ่ของพม่ามีระดับการศึกษาที่
ตกตํ่าลง อยู่ในสภาพยากจน แร้นแค้น และถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพทางการเมืองมาโดยตลอด
สถานการณ์ทางการเมืองของพม่าที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารพม่าโดยสิ้นเชิง ซึ่ง
ก่อให้เกิดการต่อต้านของพรรคการเมืองฝ่ายค้านรวมทั้งการปะทะระหว่างชนกลุ่มน้อยกับทหารพม่าทาง
ตอนเหนือของประเทศได้เพิ่มจํานวนมากขึ้น ทหารพม่าทําการข่มเหงประชาชนในพื้นที่ที่มีการสู้รบ
ซึ่งรวมถึงการการบังคับใช้แรงงาน การข่มขืน การฆ่าคนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย การใช้มนุษย์เป็นโล่ในการ
สู้รบ จนเป็นที่มาของประเทศต่าง ๆ รวม ๑๖ ประเทศที่สนับสนุนการตั้ง United Nations Commission of
Inquiry ในประเด็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงของทุกฝ่ายซึ่งร่วม