Page 98 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 98
๘๙
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ข. การจัดท าฐานข้อมูล
ในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากพม่านั้นประเทศไทยควรสร้างฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างปฏิบัติงาน
เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งฐานข้อมูลดังกล่าว นอกจากจะมีประโยชน์ในแง่การ
บริหารจัดการผู้ลี้ภัยเพื่อการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืนในแล้วยังช่วยให้การท างานขององค์กรที่ให้ความ
ช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการใช้ระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัย เช่น
โครงการ KRISYS ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศโคโซโว และประเทศแอลแบเนีย
๑๕
เป็นโครงการร่วมระหว่าง Chicago Kent School of Law และ Illinois Institution of Technology
การสร้างเครือข่ายดังกล่าวสามารถจ าแนกเป็นขั้นตอนหลักดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยจัดตั้งศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และติดตั้งที่ส านักงานกลางซึ่งท าหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งนี้ ส าหรับข้อมูลซึ่งมีความอ่อนไหวสามารถจัดเก็บแยกไว้
ต่างหาก เป้ าหมายของขั้นตอนนี้คือการท าให้เข้าถึงฐานข้อมูลได้โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ข้อมูลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ หมู่บ้าน ศูนย์พักพิง กับระเบิด จะถูกรวบรวมและน าเสนอใน
รูปแบบของแผนที่ ซึ่งเมื่อผู้ใช้กดเลือกที่รูปภาพของสัญลักษณ์ใด ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์นั้นก็จะ
ปรากฏขึ้น โดยทีมผู้พัฒนาได้ ท าให้ฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตอย่างมี
ประสิทธิภาพ
๑๕ KRISYS NET. “Kosovo Refugee Information System and Network” An Interprofessional Project (IPRO) of
Chicago-Kent College of Law,Illinois Institute of Technology Prospectus ๑๙๙๘-๑๙๙๙.
http://pbosnia.kentlaw.edu/projects/kosovo/oldstuff/prospectuspre๔๒๑๙๙.htm