Page 27 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 27
๒๓
๖๔
เปนการทั่วไป โดยรัฐมีขึ้นเพื่อประโยชนของเอกชนทุกคน อํานาจของรัฐจะมีขอบเขตจํากัดลง
เมื่อเกี่ยวของกับสิทธิเสรีภาพของเอกชน และจะตองมีองคกรที่เปนกลางกํากับดูแลการที่รัฐ
๖๕
ตองปฏิบัติตามกฎหมาย ตอมาความหมายของคําวา “นิติรัฐ” ถูกลดขอบเขตความหมายของนิติรัฐ
ในทางเนื้อหากลายเปนนิติรัฐในทางรูปแบบ โดย Friedrich Julius Stahl ไดอธิบายวา รัฐควรจะเปน
“นิติรัฐ” ซึ่งเปนแนวทางในการแกไขปญหาของรัฐและเปนความพยายามที่จะพัฒนารัฐไปสูยุคใหม
ดังนั้น รัฐจะตองกําหนดแนวทางและขอบเขตในการทําใหบรรลุความมุงหมายดังกลาว โดยรัฐจะตอง
เคารพในขอบเขตสวนบุคคลของปจเจกบุคคลและจะตองใหการรับรองคุมครองขอบเขตสวนบุคคล
โดยกฎหมาย และทําใหเกิดความมั่นคงตอแนวทางดังกลาว นอกจากนั้นรัฐไมควรจะใชอํานาจเหนือ
ของรัฐบังคับบุคคลตามแนวจารีตที่เคยปฏิบัติอีกตอไป โดยเฉพาะอยางยิ่งในขอบเขตสวนบุคคล
๖๖
และนี่คือความหมายของ“นิติรัฐ” Gerhard Anschütz อธิบายวา หลักนิติรัฐ คือ การที่
ฝายปกครองจะใชอํานาจแทรกแซงเสรีภาพของเอกชนจะกระทําโดยฝาฝนกฎหมายไมไดหรืออีกนัย
๖๗
หนึ่งจะตองมีฐานทางกฎหมายใหใชอํานาจที่จะกระทําเชนนั้นได
จากความหมายของคําวา “นิติรัฐ” ดังกลาวขางตน จึงอาจกลาวไดวา หลักนิติรัฐ
หมายถึง หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรจากการใชอํานาจตามอําเภอใจของรัฐและองคกรตางๆ
ของรัฐโดยกฎหมาย กลาวคือ การที่รัฐยอมรับรองและใหความคุมครองสิทธิเสรีภาพของราษฎร
ไวในรัฐธรรมนูญ ไมไดหมายความวา รัฐจะยอมใหราษฎรใชสิทธิเสรีภาพของตนกระทําการตางๆ
ไดโดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ จากองคกรเจาหนาที่ของรัฐๆ รัฐมีผลประโยชนของสวนรวม
หรือผลประโยชนสาธารณะ (Public Interest) ที่จะตองธํารงรักษาไว และเพื่อธํารงรักษาไวซึ่ง
ผลประโยชนของสวนรวมหรือผลประโยชนสาธารณะนี้ ในบางกรณีรัฐจําเปนตองบังคับใหราษฎร
กระทําการหรือละเวนไมกระทําการบางอยางและการลวงล้ําเขาไปในแดนแหงสิทธิเสรีภาพดังกลาว
ตองมีกฎหมายบัญญัติใหอํานาจกระทําไดไวอยางชัดแจงและภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว
เทานั้น และเพื่อใหการปกครองโดยหลักนิติรัฐหรือโดยกฎหมายดําเนินไปอยางมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่ราษฎรผูซึ่งเห็นวาตนถูกองคกรของรัฐลวงละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยไมชอบดวยกฎหมาย
มีสิทธิโตแยงคัดคานการกระทําดังกลาวตอองคกรตุลาการได เพื่อตรวจสอบความชอบดวยกฎหมาย
๖๔ Albert Bleckmann Staatsrech l – Staatsorganisationsrecht, ๔. Aufl., Carl Heymanns
Verlag ๑๙๙๗, S.๑๘๘. อางถึงใน บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเปนมนุษย
ตามรัฐธรรมนูญ, พิมพครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, ๒๕๔๗), น. ๒๓ – ๒๔.
๖๕ ชัยวัฒน วงศวัฒนศานต, “หลักนิติธรรม (Rule Of Law),” ใน รวมบทความทางวิชาการ เนื่องใน
โอกาสครบรอบ ๙๐ ปธรรมศาสตราจารยสัญญา ธรรมศักดิ์, จัดพิมพโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๔๑ :
น. ๒๖.
๖๖
บรรเจิด สิงคะเนติ, อางแลว เชิงอรรถที่ ๖๔, น. ๒๔.
๖๗
ชัยวัฒน วงศวัฒนศานต, อางแลว เชิงอรรถที่ ๖๕, น. ๒๗.