Page 26 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
P. 26
๒๒
(๑.๒.๑.๑) หลักนิติรัฐ
หลักนิติรัฐถือเปนหลักการพื้นฐานที่สําคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ถึงขนาดกลาวกันวา “การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่แทจริงจะมีขึ้นและดํารงอยูตลอดไปไมได
โดยปราศจากหลักนิติรัฐและเฉพาะแตรัฐที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยเทานั้น
๕๙
จึงจะควรคาแกการเรียกวา “นิติรัฐ” (Rechtsstaat หรือ L' Etat de Droit หรือ The Rule of Law)
เปนคําที่นักประวัติศาสตรและนักปรัชญาการเมืองทางตะวันตกใชเรียกรัฐประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในชวง
คริสตศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งยอมรับรองและใหความคุมครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของราษฎรไวใน
รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เพื่อที่ราษฎรจะไดใชสิทธิเสรีภาพเชนวานั้นพัฒนาบุคลิกภาพของตนไดตามที่ราษฎร
๖๐
แตละคนจะเห็นสมควร ตามแนวความคิดของลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม (Individualism) ที่เชื่อมั่นใน
ความสามารถและศักดิ์ศรีแหงความเปนมนุษยที่เทาเทียมกันของปจเจกชนแตละคนและลัทธิเสรีนิยม
ที่เชื่อและถือมั่นในความมีคุณคาและความสามารถที่จะพัฒนาไปสูคุณคานั้นไดดวยตัวเองของมนุษย
๖๑
แตละคนถาไดรับโอกาสที่จะเลือกวิถีทางในการดําเนินชีวิตของตนไปไดโดยเสรี ซึ่งรัฐจะตองเคารพ
ตอสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองเพื่อปองกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานนี้จากการใชอํานาจตาม
๖๒
อําเภอใจของรัฐ รัฐมีอํานาจจํากัดโดยตองยอมตนอยูภายใตกฎหมายอยางเครงครัด กลาวคือ กรณี
๖๓
ที่รัฐจะลวงล้ําสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตองมีกฎหมายใหอํานาจจึงจะกระทําได และกระทําได
ภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไวเทานั้น
Robert von Mohl, Carl Welcker และ Johann Christoph Frisherr von
Aretin นักคิดที่สําคัญของเยอรมันไดใหความของคําวา “นิติรัฐ” วาหมายถึง รัฐแหงความมีเหตุผล
อันเปนรูปแบบที่ปกครองตามเจตจํานงโดยรวมที่มีเหตุผลและมีวัตถุประสงคเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสําหรับสังคม
๕๙
Michel FROMONT, Alfred RIEG, (SOUS la direction de), Introduction au droit allemande,
Tome ll, Droit public – Droit privé, op.Cit.,p.๑๓. อางถึงใน วรพจน วิศรุตพิชญ, สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
แหงราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพวิญูชน, ๒๕๔๓), น. ๖๕ – ๖๖.
๖๐
วรพจน วิศรุตพิชญ, ขอคิดและหลักการพื้นฐานในกฎหมายมหาชน, (กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ
วิญูชน, ๒๕๔๐), น. ๑.
๖๑
กนิษฐา เชี่ยววิทย, “การควบคุมตรวจสอบความชอบดวยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองคกร
นิติบัญญัติโดยองคกรตุลาการ,” (วิทยานิพนธมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๓๓),
น. ๗๖ – ๗๗.
๖๒
สมยศ เชื้อไทย และวรพจน วิศรุตพิชญ, “แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและ
ประชาธิปไตย” วารสารนิติศาสตร, ฉบับที่ ๓, ปที่ ๑๔, น. ๔๔ (กันยายน ๒๕๓๗).
๖๓
สมยศ เชื้อไทย, คําอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ, เอกสารประกอบการสอนชั้นปริญญาโท
วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญชั้นสูง, (คณะนิติศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, ๒๕๔๗), น. ๘๗.